วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

1.ชื่อเรื่อง(The Title)

 http://rforvcd.wordpress.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2/%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2/ ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า ผู้วิจัยต้องกำหนดชื่อหัวข้อปัญหาลงไปให้ชัดเจนว่า ปัญหานั้นคืออะไร ซึ่งการตั้งชื่อหัวข้อปัญหาการวิจัยนั้น รศ.ดร.ภญ. กัญญดา  อนุวงศ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พวงรัตน์ ทวีรัตน์ (2540) และสุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ (2544) อ้างจาก ศรีสุดา คล้ายคล่องจิตร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้ข้อคิดในการตั้งหัวข้อปัญหางานวิจัยไว้ดังนี้   
   1) ชื่อปัญหาควรสั้นกะทัดรัด และชัดเจน เพื่อระบุถึงเรื่องที่จะทำการศึกษาวิจัยว่า จะศึกษาเรื่องอะไรกับใคร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด หรือต้องการผลอะไร ครบคลุมปัญหาที่จะวิจัย
ตัวอย่างเช่น  “ประสิทธิผลของการใช้วัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันกับทหารในศูนย์ฝึกทหารใหม่ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ 2547”
ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ชื่อที่ยาวมากๆ แต่ไม่ฟุ่มเฟือย อาจแบ่งชื่อเรื่องออกเป็น 2 ตอน โดยให้ชื่อในตอนแรกมีน้ำหนักความสำคัญมากกว่า และตอนที่สองเป็นเพียงส่วนประกอบหรือส่วนขยาย เช่น “การศึกษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันโรคของนักเรียนชาย : เปรียบเทียบระหว่างนักเรียนอาชีวศึกษากับนักศึกษามหาวิทยาลัยปีที่ 1 ในกรุงเทพมหานคร 2547”
    2) ชื่อหัวข้อปัญหาที่ดีจะต้องแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรของปัญหานั้นๆ ตอบว่า ศึกษาปรากฏการณ์หรือตัวแปรอะไร  กับใคร ที่ไหน หรือเมื่อไร (ถ้าเกี่ยวกับเวลา)
ตัวอย่างเช่น  “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบกับวินัยในตนเองของนักศึกษาวิทยาลัยเพาะช่าง”
   3) ชื่อเรื่อง ควรขึ้นต้นด้วยคำนาม เพื่อให้เกิดความไพเราะสละสลวย ที่นิยมกัน คือ มักจะขึ้นด้วยคำว่า  การศึกษา  การสำรวจ  การวิเคราะห์  การเปรียบเทียบ
ตัวอย่างเช่น “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางสมองกับความสามารถทางการคิดแก้ปัญหาในวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนในชั้นมัธยมศึกษา”
“การเปรียบเทียบพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนจากการประเมินผลหลักสูตรประถมศึกษา  พุทธศักราช  2503  และพุทธศักราช  2521”
   4) ภาษาที่ใช้ต้องอ่านเข้าใจได้ง่าย ไม่ต้องตีความอีก ถ้ามีศัพท์เทคนิคต้องเป็นศัพท์ที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ
   5) การตั้งชื่อหัวข้อปัญหาจะต้องระวังไม่ให้ซ้ำซ้อนกับผู้อื่น แม้ว่าจะศึกษาในประเด็นที่คล้ายๆ กันก็ตาม
         ไพทูรย์  เวทการ (2540) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า
   1) ชื่อเรื่องมีความชัดเจน รัดกุม และสื่อความหมายได้ครอบคลุมเนื้อหาที่จะวิจัยหรือไม่
   2) ชื่อเรื่องได้มีการระบุปัญหาเป็นการเฉพาะหรือชี้ชัดประเด็นที่จะศึกษาได้เพียงใด
  3) ชื่อเรื่องกว้างหรือแคบเกินไปหรือไม่
  4) การใช้คำขึ้นต้นมีลักษณะเป็นคำนามที่สื่อความหมายได้เพียงใด
  5) การตั้งชื่อจูงใจและดึงดูดความสนใจของผู้อ่านเพียงใด
  1)หัวข้อวิจัยอาจเกิดจากความสนใจ ประสบการณ์ส่วนตัว ภูมิหลัง และปัญหาในการทำงาน เช่น นางสาวปริศนาปฏิบัติงานในตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา รับผิดชอบในการดำเนินจัดกิจกรรมและโครงการต่างๆ เพื่อเสริมประสบการณ์ในการเรียนการสอนแก่นักศึกษา เป็นจำนวน  99โครงการต่อปี ทั้งนี้ จากการประเมินโครงการในแต่ละครั้ง พบว่า ในแต่ละโครงการมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่ำกว่าร้อยละ 50 ดังนั้น นางสาวปริศนาจึงมีความสนใจที่จะทำวิจัย เพื่อจะแก้ไขปัญหาที่เป็นอยู่ในการปฏิบัติงานก็ได้
  2)การอ่านเอกสาร วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ตำรา วารสารวิจัยต่างๆ และปริญญานิพนธ์ต่างๆ บทความต่างๆที่เกี่ยวข้อง รายงานการวิจัย เป็นต้น จากการอ่านทบทวนและการวิเคราะห์วิพากษ์วิจารณ์วรรณกรรมเหล่านี้  จะทำให้เราทราบว่า ทำให้เราทราบถึงช่องว่างหรือโอกาสที่จะต่อยอดทางความคิดได้  หรือเรื่องที่ตนเองสนใจที่จะศึกษาหลังจากการได้อ่านผลงานวิจัยของคนอื่นแล้ว จะได้นำข้อค้นพบจาการทำวิจัยและข้อเสนอแนะที่ผู้วิจัยให้ไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการต่อยอดความคิด หรือเป็นแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องที่จะทำวิจัยได้  หรือจากการอ่านบทคัดย่อปริญญานิพนธ์/บทคัดย่อ เมื่ออ่านแล้วก็จะเกิดแนวความคิดในการเลือกหัวข้อปัญหาการวิจัยได้ และทราบว่ามีใครทำงานวิจัยอะไรบ้างและลดการทำงานวิจัยซ้ำซ้อนกับผู้อื่นด้วย จากแหล่งอื่นๆ เช่น การวิเคราะห์แนวโน้มของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงในสังคม ตามสภาพเวลาและเทคนิควิทยาการต่างๆ หรือจากข้อโต้แย้ง หรือการวิพากษ์วิจัยของบุคคลที่อยู่ในวงการนั้น ซึ่งบางครั้งจากการประชุม สัมมนาหรือการอภิปรายต่างๆ ในเรื่องที่ตรงกับที่ผู้วิจัยสนใจ หรือจากการศึกษาปัญหาจากสถาบันหรือหน่วยงานต่างๆ ที่มีการทำวิจัย หรือบุคคลที่กำลังทำวิจัยอยู่  เป็นต้น
   3) แหล่งทุนอุดหนุนการวิจัย  นับเป็นอีกแหล่งหนึ่งที่สามารถกำหนดที่มาของหัวข้องานวิจัยได้ โดยแหล่งทุนจะกำหนดหัวข้อกว้างๆให้ทราบว่า ขณะนี้แหล่งทุนนั้นๆกำลังสนใจที่จะสนับสนุนการวิจัยอะไรบ้าง และอาจให้หัวข้อตัวอย่างที่น่าสนใจไว้ ผู้ที่สนใจจะรับทุนอาจดัดแปลงหัวข้อที่แหล่งทุนระบุไว้ให้เข้ากับสภาพของสังคมไทย
  สรุป
การตั้งชื่อเรื่องปัญหาการวิจัย (Research Title) มีดังนี้
  1) ชื่อเรื่องมีความชัดเจน รัดกุม และสื่อความหมายได้ครอบคลุมเนื้อหาที่จะวิจัยหรือไม่
  2) ชื่อเรื่องได้มีการระบุปัญหาเป็นการเฉพาะหรือชี้ชัดประเด็นที่จะศึกษาได้เพียงใด
  3) ชื่อเรื่องกว้างหรือแคบเกินไปหรือไม่
  4) การใช้คำขึ้นต้นมีลักษณะเป็นคำนามที่สื่อความหมายได้เพียงใด
  5) การตั้งชื่อจูงใจและดึงดูดความสนใจของผู้อ่านเพียงใด
ซึ่งอาจจะมีที่มาจากหลายๆแห่งหรือหลายปัจจัย ได้แก่ 
  1)หัวข้อวิจัยอาจเกิดจากความสนใจ ประสบการณ์ส่วนตัว ภูมิหลัง และปัญหาในการทำงาน เช่น นางสาวปริศนาปฏิบัติงานในตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา รับผิดชอบในการดำเนินจัดกิจกรรมและโครงการต่างๆ เพื่อเสริมประสบการณ์ในการเรียนการสอนแก่นักศึกษา เป็นจำนวน  99โครงการต่อปี ทั้งนี้ จากการประเมินโครงการในแต่ละครั้ง พบว่า ในแต่ละโครงการมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่ำกว่าร้อยละ 50 ดังนั้น นางสาวปริศนาจึงมีความสนใจที่จะทำวิจัย เพื่อจะแก้ไขปัญหาที่เป็นอยู่ในการปฏิบัติงานก็ได้
  2)การอ่านเอกสาร วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ตำรา วารสารวิจัยต่างๆ และปริญญานิพนธ์ต่างๆ บทความต่างๆที่เกี่ยวข้อง รายงานการวิจัย เป็นต้น
  3) แหล่งทุนอุดหนุนการวิจัย  นับเป็นอีกแหล่งหนึ่งที่สามารถกำหนดที่มาของหัวข้องานวิจัยได้ โดยแหล่งทุนจะกำหนดหัวข้อกว้างๆให้ทราบว่า ขณะนี้แหล่งทุนนั้นๆกำลังสนใจที่จะสนับสนุนการวิจัยอะไรบ้าง และอาจให้หัวข้อตัวอย่างที่น่าสนใจไว้ ผู้ที่สนใจจะรับทุนอาจดัดแปลงหัวข้อที่แหล่งทุนระบุไว้ให้เข้ากับสภาพของสังคมไทย
   อ้างอิง
  ไพทูรย์  เวทการ.(2540).ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย.ลำปาง:โรงพิมพ์ช่างแดง
   เว็บไซต์:http://www.elearning.ns.mahidol.ac.th/km/index.php/research-knowledge-section/80-research-general-knowledge-category/217-2011-03-07-02-39-19.html.[ออนไลน์].เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2555.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น