วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555

3.ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง(Review of Rrlated Literatures)

 http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:ArXYySikvjEJ:netra.lpru.ac.th/~phaitoon/RESEARCH/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2/doc.htm+&cd=1&hl=th&ct=clnk&gl=th ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า
 ขั้นตอนในการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง
1.กำหนดจุดมุ่งหมายของการทบทวนเอกสารให้ชัดเจน การกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนจะช่วยให้ทราบว่าเอกสารใดบ้างควรเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทำวิจัย มีแนวทางในการการคัดเลือกเอกสาร และการจับประเด็นจากเอกสารต่าง ๆ ทำได้ง่ายและชัดเจนขึ้น
2.สำรวจเอกสารที่เกี่ยวข้อง นักวิจัยจะต้องสำรวจว่าการจะทบทวนเอกสารเพื่อจุดมุ่งหมายแต่ละอย่างนั้น ควรจะมีเอกสารอะไรบ้างที่จะต้องนำมาทบทวน  การสำรวจอาจจะเริ่มจากเอกสารรอง ซึ่งเป็นเอกสารที่ทำขึ้นโดยใช้สารสนเทศจากเอกสารหลัก
3.สืบค้นหาเอกสารที่เกี่ยวข้อง นักวิจัยต้องทราบว่าเอกสารที่ต้องการนั้นอยู่ที่ไหน จะหามาได้อย่างไรนักวิจัยจะต้องรู้จักแหล่งเอกสารประเภทต่างๆ เช่น ห้องสมุด ศูนย์สารนิเทศ ศูนย์เอกสารสนเทศ หอจดหมายเหตุ ฯลฯ เป็นต้น  และที่สำคัญคือจะต้องมีทักษะในการสืบค้น (Searching skill) หาเอกสารเหล่านั้นด้วย  นั่นคือจะต้องมีความรู้ว่าเอกสารเหล่านั้นจัดเก็บไว้อย่างไร จะเข้าถึงเอกสารนั้นได้อย่างไร ปัจจุบันเทคโนโลยีในการจัดเก็บเอกสารได้พัฒนาก้าวหน้าไปมาก มีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยจัดเก็บเอกสารไว้ในสื่อรูปแบบต่างๆ ที่จะช่วยให้การสืบค้นเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วและกว้างขวาง  นักวิจัยจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการสืบค้นเอกสารจากสื่อเหล่านี้ และติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางด้านนี้อย่างต่อเนื่องเพราะมีการพัฒนาไปค่อนข้างจะรวดเร็ว  จึงจะทำให้การสืบค้นเอกสารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
4.คัดเลือกเอกสาร เอกสารที่ได้จากการสืบค้นในข้อ 3 นั้นไม่ใช่ว่าจะใช้ได้ทั้งหมด นักวิจัยจะทำการคัดเลือกเอาเฉพาะเอกสารที่มีความเกี่ยวข้องจริงๆ ตามจุดมุ่งหมาย ดังนั้นเมื่อได้เอกสารมานักวิจัยจะต้องอ่านอย่างคร่าวๆ (Scanning) ก่อนว่าเอกสารนั้นมีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะวิจัยอย่างแท้จริงหรือไม่ และจะคัดเลือกไว้เฉพาะเอกสารที่มีความเกี่ยวข้องอย่างแท้จริงเท่านั้นเพื่อทบทวนอย่างลึกซึ้งต่อไป
5.ลงมืออ่านเอกสารอย่างละเอียดจับประเด็นสำคัญให้ได้ตามจุดมุ่งหมาย ถ้าเป็นเอกสารงานวิจัยประเด็นสำคัญที่ต้องการมักจะได้แก่ ปัญหาหรือคำถามหรือวัตถุประสงค์ของการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย  ข้อสันนิษฐาน วิธีดำเนินการวิจัย  สรุปผลการวิจัย เป็นต้น  
6.จดบันทึกสาระที่ได้จากการอ่าน ควรจดบันทึกลงในบัตร ขนาดของบัตรที่นิยมใช้บันทึกมักจะมีขนาดประมาณ 3 x 5 นิ้ว  ควรบันทึกประเด็นที่ได้จากการอ่านลงในบัตรประเด็นละใบ  และไม่ควรลืมบันทึกข้อมูลบรรณานุกรมของเอกสารด้วย เพื่อจะใช้ประโยชน์ในการอ้างอิงถึงเมื่อจะต้องเรียบเรียงผลการประมวลเอกสารที่เกี่ยวข้อง
7.สังเคราะห์สาระที่ได้จากอ่านเข้าด้วยกัน
8.เรียบเรียงผลการประมวลเอกสารที่เกี่ยวข้อง
&sig2=EktKqzciq7yj2HaXiP_Haw  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า
การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องสามารถนำมาผลการค้นคว้าใช้อ้างอิงในการวิจัยได้ 2 ลักษณะใหญ่ ๆ  คือ 
            1.  การอ้างอิงเชิงทฤษฎี  ( Theoretical  Reference  )
            2.  การอ้างอิงเชิงประจักษ์  (  Empirical  Reference  )
การอ้างอิงเชิงทฤษฎี การนำผลการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องซึ้งได้สาระเกี่ยวกับทฤษฎี แนวคิดและผลงานวิจัยต่าง ๆ มาอ้างอิงในขั้นตอนต่าง ๆ ของการวิจัยได้หลายขั้นตอน ตัวอย่างเช่น
1.ขั้นตอนการเลือกเรื่องวิจัยหรือการกำหนดหัวข้อวิจัย ร่างหัวข้อวิจัยที่เคยกำหนดไว้เดิมนั้น หลังจากทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว  อาจมีการปรับปรุงหัวข้อวิจัยให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น
2.ขั้นตอนการกำหนดปัญหาการวิจัย ร่างการกำหนดปัญหาการวิจัยที่กำหนดไว้เดิม อาจมีขอบเขตเฉพาะเจาะจงที่ยังไม่ครอบคลุมองค์ประกอบของปัญหาที่กว้างขวางมากพอ หลังจากทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว อาจมีการปรับปรุงการกำหนดปัญหาการวิจัยให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น
3.ขั้นตอนการกำหนดความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ร่างการกำหนดความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาที่เคยกำหนดไว้เดิมนั้น  หลังจากทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว  อาจมีการปรับปรุงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาให้มีเหตุผลกว้างขวางมากยิ่งขึ้น
4.ขั้นตอนการกำหนดสมมติฐานการวิจัย ร่างการคาดคะเนคำตอบของปัญหาการวิจัยที่กำหนดไว้เป็นสมมติฐานการวิจัยเดิมนั้น หลังจากทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว อาจมีการปรับปรุงการกำหนดสมมติฐานการวิจัยให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น
5.ขั้นตอนการกำหนดตัวแปรการวิจัย ร่างการกำหนดตัวแปรการวิจัยที่เคยกำหนดไว้เดิมนั้น  หลังจากทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว อาจมีการปรับปรุงตัวแปรการวิจัยให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น
6.ขั้นตอนการกำหนดนิยามศัพท์ ร่างการกำหนดนิยามศัพท์ที่เคยกำหนดไว้เดิมนั้นหลังจากการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว  อาจจะมีการปรับปรุงนิยามศัพท์ให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น
7.ขั้นตอนการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างและวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง ร่างการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างและวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างที่เคยกำหนดไว้เดิมนั้น หลังจากทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว  อาจจะมีการปรับปรุงขนาดกลุ่มตัวอย่างและวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
8.ขั้นตอนการกำหนดเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล ร่างเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลที่เคยกำหนดไว้เดิมนั้น  หลังจากทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วอาจมีการปรับปรุงเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลให้รัดกุมเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
9.ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล  ร่างการกำหนดการวิเคราะห์ข้อมูลที่เคยกำหนดไว้เดิมนั้นหลังจากทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว อาจมีการปรับปรุงสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
การอ้างอิงเชิงประจักษ์ การนำผลการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นการนำผลการรวบรวมข้อมูลที่ผู้วิจัยได้จากสภาพที่เป็นจริงมาเทียบเคียงกับขั้นตอนต่าง ๆ ของการอ้างอิงเชิงทฤษฎี มาอ้างอิงในขั้นตอนต่าง ๆ ของการวิจัยได้หลายขั้นตอน โดยผู้วิจัยจะประจักษ์จากการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเด็นทบทวนงานวิจัย ตัวอย่างเช่น
1.ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล หลังจากทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วพบว่าข้อมูลที่นำมาใช้ในการวิจัยจะมีทั้งข้อมูลปฐมภูมิ ข้อมูลทุติยภูมิ และอาจมีข้อมูลตติยภูมิ การใช้ข้อมูลประเภทใดก็ตามต้องคำนึงถึงความถูกต้องของข้อมูลนั้นเป็นสำคัญ มิฉะนั้นผลการวิจัยอาจจะคลาดเคลื่อนได้
2.ขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล ในกรณีที่ผู้วิจัยใช้ข้อมูลปฐมภูมิ  ต้องมีการสร้างเครื่องมือขึ้นซึ่งคุณภาพของเครื่องมือเป็นสิ่งสำคัญ ผู้วิจัยต้องนำเครื่องมือที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้ และดำเนินการตรวจสอบคุณภาพ หากคุณภาพของเครื่องมือยังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด  ก็ต้องปรับปรุงเครื่องมือจนเป็นที่น่าพอใจก่อนนำเครื่องมือนั้นไปเก็บรวบรวมข้อมูล
ทบทวนเอกสารและงานวิจัย(วรรณกรรม)ที่เกี่ยวข้องการทบทวนวรรณกรรม หมายถึง การศึกษาค้นคว้าเอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผู้วิจัยกำลังจะทำการศึกษา เพื่อให้มี
ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎี แนวคิด อันเชื่อมโยงมาสู่การกำหนดกรอบแนวคิดและตัวแปรที่เกี่ยวข้องซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ
ขั้นตอนในการทบทวนวรรณกรรม
-กำหนดขอบเขตของการทบทวนวรรณกรรม
-ค้นหาเอกสารหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
-การเลือกเอกสารและรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
-การอ่านเอกสาร
-บันทึกข้อมูล
-การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น
หลักการเขียนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
รูปแบบการอ้างอิง
อ้างอิงเชิงอรรถ (Footnote Style)ท้ายหน้าที่อ้างอิง โดยมีชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ หรือ บทความ ปีที่พิมพ์และหมายเลขหน้า
อ้างอิงระบบ นาม – ปี (Author – Date Style) มีเฉพาะชื่อนามสกุล ปีที่พิมพ์ และหมายเลขหน้า โดยวงเล็บไว้หลังข้อความที่อ้างอิง
สรุป
การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเด็นทบทวนงานวิจัย การทบทวนที่จะให้คุณค่าแก่นักวิจัยครบถ้วน  นอกจากการศึกษาเนื้อหาสาระแล้ว  นักวิจัยจะต้องศึกษารายละเอียดของการวิจัยทุกประเด็น  ตั้งแต่ชื่องาน วัตถุประสงค์การวิจัย กรอบแนวคิดการวิจัย  การกำหนดสมมติฐานการวิจัย ระเบียบวิธีวิจัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ตลอดจนการเขียนรายงานการวิจัย
  ขั้นตอนที่มีความสำคัญมากขั้นตอนหนึ่งของงานวิจัยคือการทบทวนวรรณคดีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Review  Literature  and Related Research)ขั้นนี้จะเป็นขั้นที่ช่วยทำให้ผลวิจัยเห็นแนวทางในการวิจัยว่าจะดำเนินการวิจัยอย่างไร จึงจะทำให้งานวิจัยทำสำเร็จได้อย่างมีคุณภาพ และนอกจากนี้ในขั้นนี้ยังบอกให้ผู้วิจัยที่จะทำในเรื่องนั้น ๆ ทราบว่า เรื่องที่จะทำนั้นมีผู้ใดทำไว้บ้างแล้ว ทำในลักษณะไหน ตัวแปรเป็นอย่างไร ระเบียบวิธีการวิจัยที่ทำนั้นทำอย่างไรพบอะไร เสนอแนะไว้อย่างไรบ้าง การทบทวนวรรณคดีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หมายถึงการอ่าน การศึกษา การเก็บประเด็นต่าง ๆ แนวคิด ทฤษฎี วิธีการ ข้อค้นพบต่าง ๆ จากงานวิจัย ตำรา หนังสือ วารสาร ตลอดทั้งเอกสาร สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจและสามารถนำมาอ้างอิงได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้   1.กำหนดขอบเขตของการทบทวนวรรณกรรม          
         2.ค้นหาเอกสารหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
         3.การเลือกเอกสารและรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง        
         4.การอ่านเอกสาร

         5.บันทึกข้อมูล                                                     
        6.การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น

อ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น