วันจันทร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555

7.กรอบแนวความคิดในการวิจัย(Conceptual ramework)

 http://ruchareka.wordpress.com/2009/08/07/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2-conceptual-framewo/ ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework) เป็นขั้นตอนหนึ่งในการเขียนโครงร่างการวิจัย (Research Proposal) เป็นการสรุปความคิดของผู้ทำวิจัย ได้แก่ สิ่งที่ผู้วิจัยต้องการทำนั้นมีรูปแบบและทิศทางใด มีประเด็นใดบ้างที่ต้องการทำวิจัย และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ ที่กำหนดไว้เป็นข้อสมมุติฐานในการศึกษาวิจัย ทั้งตัวแปรต้น (ตัวแปรอิสระ) และตัวแปรตาม 
  ผู้ทำวิจัย จะสรุปความคิดหรือสร้างมโนภาพ (Concept) เพื่อนำมาสร้าง Conceptual Framework ได้ จะต้องอาศัยการอ่านทบทวนผลงานวิจัยอื่นๆ และศึกษาทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องก่อน แล้วนำมาผสมกับแนวความคิดและประสบการณ์ของผู้วิจัยเอง
       บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์(2549:39) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า กรอบแนวคิดการวิจัย เป็นภาพพจน์ที่เป็นแนวคิดในการวิจัยเรื่องนั้น การกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย จะต้องเริ่มจากการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  วิเคราะห์ประเด็นปัญหา กำหนดปัญหาการวิจัยให้ชัดเจน และหาแนวทางการค้นหาคำตอบ จากนั้นประมวลเป็นกรอบแนวคิดการวิจัยเรื่องนั้น จึงต้องทำความเข้าใจในเรื่องต่อไปนี้
   1. ปัญหาหลักที่ต้องการวิจัยคืออะไร  และอะไรเป็นปัญหาที่ต้องการทราบกันแน่
   2. อะไรเป็นตัวแปรตามและตัวแปรอิสระ ตัวแปรแทรกและตัวแปรควบคุม ตัวแปรต่างๆที่นำมาศึกษามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างไร
  3. ข้อมูลที่จะใช้ในการวิจัยเรื่องนั้นมีอะไรบ้าง แหล่งข้อมูลอยู่ที่ไหนและจะเก็บรวบรวมมาได้อย่างไร
  4. การหาคำตอบในการวิจัยนั้น สามารถใช้ระเบียบวิธีวิจัย หรือแบบการวิจัย(research design) ในลักษณะใดได้บ้าง และจะเลือกใช้การวิจัยแบบใด ทำไมจึงเลือกแบบนั้น
  5. มีแนวคิดและทฤษฎีอะไรบ้างที่สนับสนุนการวิจัยในปัญหานี้
  6. มีข้อตกลงเบื้องต้นในการทำวิจัยเรื่องนี้หรือไม่ มีอย่างไรบ้าง
จากการวิเคราะห์ดังกล่าวนำมาประมวลรวมเป็นกรอบแนวคิดโดยพยายามนำเสนอในลักษณะเป็นรูปธรรม ซึ่งมักจะทำเป็นแผนผังแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษา ประกอบการอธิบาย
          http://www.gotoknow.org/posts/400777 ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า กรอบแนวความคิด (Conceptual framework)การกำหนดกรอบแนวความคิดในการวิจัย เป็นขั้นตอนต่อจากการกำหนดประเด็นปัญหาวิจัย
1 ความหมาย
*หมายถึงกรอบของการวิจัยด้านเนื้อหาสาระประกอบด้วยตัวแปร การระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
*ต่างจากขอบเขตการวิจัย ที่หมายถึงประเด็นต่างๆ ที่จะศึกษาและขอบเขตของประชากรที่จะศึกษา
*กรอบแนวความคิดมีพื้นฐานจากทฤษฎี
       1.1การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) กับกรอบแนวความคิด
*ระบุเฉพาะตัวแปรที่จะศึกษา ไม่ระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร เหมือนขอบเขตด้านเนื้อหาสาระของการวิจัย
       1.2การวิจัยเชิงอธิบาย (Explanatory research) กับกรอบแนวความคิด
*ระบุตัวแปรและความสัมพันธ์
      1.3สรุปกรอบแนวความคิด 
 1) เป็นกรอบการวิจัยด้านเนื้อหาสาระ ประกอบด้วยตัวแปรและการระบุความสัมพัน์ระหว่างตัวแปร
 2) หรือเป็นแนวความคิดของผู้วิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่กำหนดเป็นสมมติฐาน
 3) มีความสำคัญสำหรับการวิจัยประเภทการอธิบาย (Explanatory research) เพราะเรื่องเดียวกันมีทฤษฎี หรือแนวคิดเพื่อการศึกษาหลายรูปแบบ
 4) ควรมีพื้นฐานจากทฤษฎีเพื่อเพิ่มพูนและปรับปรุงความรู้เติมให้ถูกต้องยิ่งขึ้น
 5) กรอบแนวคิด = สมมติฐาน เพราะระบุความสัมพันธ์ของตัวแปรเช่นเดียวกัน
 6) ได้จากผลงานวิจัยและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง แนวความคิด
 7) การศึกษาเรื่องเดียวกันมีทฤษฎีและแนวคิดในการมองปัญหาหลายรูปแบบการ ระบุกรอบแนวคิดจะทำให้มองปัญหาหลายรูปแบบ การระบุกรอบแนวคิดจะทำให้ทราบว่าผู้วิจัยมีแนวความคิดกับสิ่งที่ศึกษาและคิดว่าอะไรสัมพันธ์กับอะไร รูปแบบและทิศทางใด
     1.4 การเสนอกรอบแนวความคิด
 1) คำพรรณนา เขียนบรรยาย ตัวแปรที่สำคัญและความสัมพันธ์กับตัวแปรตาม ประเด็นของปัญหาวิจัย
 2) แบบจำลอง ใช้สัญลักษณ์และสมการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามและตัวแปรอิสระ เช่น        A = f (I, E, O, G)
A = Adoption             I = Income
O = Occupation         E = Education
G = Group membership
A = a+b1I + b2 E+b3 O+ b4G
A = ค่าคงที่
b1...b4 = สัมประสิทธิ์สหพันธ์ระหว่าง I, E, O และ G ที่มีต่อ A
เครื่องหมาย +(บวก) หรือ – (ลบ) แสดงทิศทางของความสัมพันธ์กับตัวแปรตามคือ A (Adoption)
 3) แบบผสมผสาน
พรรณนา + จำลอง
พรรณนา + แผนภาพ (หรือแผนภูมิ) นิยมมาก
แผนภาพ + จำลอง                                                                                                 
 สรุป
    กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework) เป็นขั้นตอนหนึ่งในการเขียนโครงร่างการวิจัย (Research Proposal) เป็นการสรุปความคิดของผู้ทำวิจัย ได้แก่ สิ่งที่ผู้วิจัยต้องการทำนั้นมีรูปแบบและทิศทางใด มีประเด็นใดบ้างที่ต้องการทำวิจัย และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ ที่กำหนดไว้เป็นข้อสมมุติฐานในการศึกษาวิจัย ทั้งตัวแปรต้น (ตัวแปรอิสระ) และตัวแปรตาม และหาแนวทางการค้นหาคำตอบ จากนั้นประมวลเป็นกรอบแนวคิดการวิจัยเรื่องนั้น จึงต้องทำความเข้าใจในเรื่องต่อไปนี้
1. ปัญหาหลักที่ต้องการวิจัยคืออะไร  และอะไรเป็นปัญหาที่ต้องการทราบกันแน่
2. อะไรเป็นตัวแปรตามและตัวแปรอิสระ ตัวแปรแทรกและตัวแปรควบคุม ตัวแปรต่างๆที่นำมาศึกษามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างไร
3. ข้อมูลที่จะใช้ในการวิจัยเรื่องนั้นมีอะไรบ้าง แหล่งข้อมูลอยู่ที่ไหนและจะเก็บรวบรวมมาได้อย่างไร
4. การหาคำตอบในการวิจัยนั้น สามารถใช้ระเบียบวิธีวิจัย หรือแบบการวิจัย(research design) ในลักษณะใดได้บ้าง และจะเลือกใช้การวิจัยแบบใด ทำไมจึงเลือกแบบนั้น
5. มีแนวคิดและทฤษฎีอะไรบ้างที่สนับสนุนการวิจัยในปัญหานี้
6. มีข้อตกลงเบื้องต้นในการทำวิจัยเรื่องนี้หรือไม่ มีอย่างไรบ้าง
อ้างอิง เว็บไซต์:http://ruchareka.wordpress.com/2009/08/07/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2-conceptual-framewo/.[ออนไลน์].เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2555.
   บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์.(2549).ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์.(พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร : จามจุรีโปรดักท์.
  เว็บไซต์:http://www.gotoknow.org/posts/400777.[ออนไลน์].เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2555.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น