วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

6.สมมติฐาน (Hypothesis)

      http://e-learning.snru.ac.th/els/scilife/unit1/hypothesis.htm  ได้สรุปและกล่าวไว้ว่า  สมมติฐาน (Hypothesis)  หมายถึง ข้อความที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้นเพื่อคาดคะเนคำตอบของปัญหาล่วงหน้าก่อนที่จะดำเนินการทดลอง  สมมติฐานใดจะเป็นที่ยอมรับหรือไม่ขึ้นอยู่กับหลักฐาน  เหตุผลที่จะสนับสนุนหรือคัดค้าน (ข้อความที่เป็นสมมติฐานต้องเป็นข้อความคาดคะเนคำตอบโดยที่บุคคลนั้นยังไม่เคยรู้หรือเรียนมาก่อน)  ตัวอย่าง    "เมื่อพืชได้รับแสงมากขึ้น  พืชนะเจริญเติบโตขึ้น"
        "ถ้าเพิ่มทำละลาย  จุดเดือดของสารละลายจะเพิ่มขึ้น"        
        "ถ้าเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้กับพืชมากเกินไป  พืชจะเฉาตาย"       
        "ถ้าอุณหภูมิที่แวดล้อมมีผลต่อการเจริญเติบโตของบัคเตรี ดังนั้น บัคเตรีที่อยู่ในอุณหภูมิพอเหมาะจะเจริญเติบโตมากกว่าบัคเตรีที่อยู่ในอุณหภูมิไม่เหมาะสม"        
        "ถ้าช่วงขาที่มีผลต่อเวลาที่ใช้ในการวิ่ง  ดังนั้น นาย ก. ซึ่งมีช่วงขายาวกว่า  นาย ข. จะใช้เวลาในการวิ่ง 100 เมตร น้อยกว่า"        
        "ในการปล่อยลูกบอลจากระดับที่สูงขึ้นลงสู่พื้นมีผลต่อความสูงที่ลูกบอลกระเด้งขึ้น  ดังนั้นลูกบอลที่ปล่อยจากระดับที่สูงกว่าจะกระเด้งสูงกว่าบอลที่ปล่อยจากระดับที่ต่ำกว่า"
        http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 ได้สรุปและกล่าวไว้ว่ การตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเนหรือการทายคำตอบอย่างมีเหตุผล มักเขียนในลักษณะ การแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น(independent variables) และตัวแปรตาม (dependent variable) เช่น การติดเฮโรอีนชนิดฉีด เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคเอดส์ สมมติฐานทำหน้าที่เสมือนเป็นทิศทาง และแนวทาง ในการวิจัย จะช่วยเสนอแนะ แนวทางในการ เก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป สมมติฐานต้องตอบวัตถูประสงค์ของการวิจัยได้ครบถ้วนและทดสอบและวัดได้
        นอกจากนี้ ผู้วิจัยควรนำเอาสมมติฐานต่างๆ ที่เขียนไว้มารวมกันให้เป็นระบบและมีความเชื่อมโยงกันในลักษณะที่เป็นกรอบแนวความคิดของการศึกษาวิจัยทั้งเรื่อง เช่น จะศึกษาถึง พฤติกรรมสุขภาพเมื่อเจ็บป่วยของคนงาน อาจต้องแสดง (นิยมทำเป็นแผนภูมิ) ถึงที่มาหรือปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดในพฤติกรรมดังกล่าว หรือในทางกลับกัน ผู้วิจัยอาจกำหนดกรอบแนวความคิดของการวิจัย ซึ่งระบุว่าการวิจัยนี้มีตัวแปรอะไรบ้าง และตัวแปรเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันอย่างไรก่อน แล้วจึงเขียนสมมติฐานที่ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในลักษณะที่เป็นข้อๆ ในภายหลัง
   https://docs.google.com/viewer?a=v&q=cache:XUxhobD4CmoJ ได้สรุปและกล่าวไว้ว่ สมมติฐานทางการวิจัย มี 2 ชนิดคือ
1.1 สมมติฐานทางการวิจัยมีแบบมีทิศทาง ( Directional hypothesis ) เป็นสมมติฐานที่เขียนระบุอย่างชัดเจนถึงทิศทางของความแตกต่างถึงทิศทางของความแตกต่างระหว่างกลุ่ม โดยมีคำว่า
 ดีกว่า หรือ  สูงกว่าหรือ ต่ำกว่า หรือ น้อยกว่าในสมมติฐานนั้นๆดังตัวอย่างที่ 1 ข้างต้น หรือระบุทิศทางของความสัมพันธ์ โดยมีคำว่า ทางบวก หรือ ทางลบ ในสมมติฐานนั้นๆ เช่น
  ผู้บริหารเพศชายมีประสิทธิภาพในการบริหารงานมากกว่าผู้บริหารเพศหญิง
  ผู้บริหารชายมีการใช้อำนาจในตำแหน่งมากกว่าผู้บริหารหญิง
  ครูอาจารย์เพศชายมีความวิตกกังวลในการทำงานน้อยกว่าครูอาจารย์เพศหญิง
   เจตคติต่อวิชาวิจัยทางการศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิจัยทางการศึกษา
               1.2 สมมติฐานทางการวิจัยไม่มีแบบไม่มีทิศทาง (Nondirectional hypothesis ) เป็นสมมติฐานที่ไม่กำหนดทิศทางของความแตกต่างดังตัวอย่างที่ 2 หรือไม่กำหนดทิศทางของความสัมพันธ์  ดังตัวอย่างเช่น    นักเรียนที่มีเพศต่างกันมีเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์แตกต่างกัน
            ผู้บริหารที่มีเพศต่างกันมีปัญหาในการบริหารงานวิชาการแตกต่างกัน
            ภาวะผู้ของผู้บริหารมีความสัมพันธ์กับบรรยากาศองค์การ                                                   สรุป
สมมติฐาน (Hypothesis)  หมายถึง ข้อความที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้นเพื่อคาดคะเนคำตอบของปัญหาล่วงหน้าก่อนที่จะดำเนินการทดลอง  สมมติฐานใดจะเป็นที่ยอมรับหรือไม่ขึ้นอยู่กับหลักฐาน  เหตุผลที่จะสนับสนุนหรือคัดค้าน (ข้อความที่เป็นสมมติฐานต้องเป็นข้อความคาดคะเนคำตอบโดยที่บุคคลนั้นยังไม่เคยรู้หรือเรียนมาก่อน) ซึ่งสมมติฐานทางการวิจัย มี 2 ชนิดคือ
1.1 สมมติฐานทางการวิจัยมีแบบมีทิศทาง ( Directional hypothesis ) เป็นสมมติฐานที่เขียนระบุอย่างชัดเจนถึงทิศทางของความแตกต่างถึงทิศทางของความแตกต่างระหว่างกลุ่ม โดยมีคำว่า  ดีกว่า  หรือ   สูงกว่า  หรือ  ต่ำกว่า  หรือ  น้อยกว่า  
    1.2 สมมติฐานทางการวิจัยไม่มีแบบไม่มีทิศทาง (Nondirectional hypothesis ) เป็นสมมติฐานที่ไม่กำหนดทิศทางของความแตกต่างดังตัวอย่างที่ 2 หรือไม่กำหนดทิศทางของความสัมพันธ์  
อ้างอิง                                                                                    เว็บไซต์:http://e-learning.snru.ac.th/els/scilife/unit1/hypothesis.htm.[ออนไลน์].เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2555.                                                                                                              เว็บไซต์:http://blog.eduzones.com/jipatar/85921.[ออนไลน์].เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2555.                                                                                                                                  เว็บไซต์:https://docs.google.com/viewer?a=v&q=cache:XUxhobD4CmoJ.[ออนไลน์].เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2555.








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น