วันจันทร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555

7.กรอบแนวความคิดในการวิจัย(Conceptual ramework)

 http://ruchareka.wordpress.com/2009/08/07/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2-conceptual-framewo/ ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework) เป็นขั้นตอนหนึ่งในการเขียนโครงร่างการวิจัย (Research Proposal) เป็นการสรุปความคิดของผู้ทำวิจัย ได้แก่ สิ่งที่ผู้วิจัยต้องการทำนั้นมีรูปแบบและทิศทางใด มีประเด็นใดบ้างที่ต้องการทำวิจัย และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ ที่กำหนดไว้เป็นข้อสมมุติฐานในการศึกษาวิจัย ทั้งตัวแปรต้น (ตัวแปรอิสระ) และตัวแปรตาม 
  ผู้ทำวิจัย จะสรุปความคิดหรือสร้างมโนภาพ (Concept) เพื่อนำมาสร้าง Conceptual Framework ได้ จะต้องอาศัยการอ่านทบทวนผลงานวิจัยอื่นๆ และศึกษาทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องก่อน แล้วนำมาผสมกับแนวความคิดและประสบการณ์ของผู้วิจัยเอง
       บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์(2549:39) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า กรอบแนวคิดการวิจัย เป็นภาพพจน์ที่เป็นแนวคิดในการวิจัยเรื่องนั้น การกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย จะต้องเริ่มจากการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  วิเคราะห์ประเด็นปัญหา กำหนดปัญหาการวิจัยให้ชัดเจน และหาแนวทางการค้นหาคำตอบ จากนั้นประมวลเป็นกรอบแนวคิดการวิจัยเรื่องนั้น จึงต้องทำความเข้าใจในเรื่องต่อไปนี้
   1. ปัญหาหลักที่ต้องการวิจัยคืออะไร  และอะไรเป็นปัญหาที่ต้องการทราบกันแน่
   2. อะไรเป็นตัวแปรตามและตัวแปรอิสระ ตัวแปรแทรกและตัวแปรควบคุม ตัวแปรต่างๆที่นำมาศึกษามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างไร
  3. ข้อมูลที่จะใช้ในการวิจัยเรื่องนั้นมีอะไรบ้าง แหล่งข้อมูลอยู่ที่ไหนและจะเก็บรวบรวมมาได้อย่างไร
  4. การหาคำตอบในการวิจัยนั้น สามารถใช้ระเบียบวิธีวิจัย หรือแบบการวิจัย(research design) ในลักษณะใดได้บ้าง และจะเลือกใช้การวิจัยแบบใด ทำไมจึงเลือกแบบนั้น
  5. มีแนวคิดและทฤษฎีอะไรบ้างที่สนับสนุนการวิจัยในปัญหานี้
  6. มีข้อตกลงเบื้องต้นในการทำวิจัยเรื่องนี้หรือไม่ มีอย่างไรบ้าง
จากการวิเคราะห์ดังกล่าวนำมาประมวลรวมเป็นกรอบแนวคิดโดยพยายามนำเสนอในลักษณะเป็นรูปธรรม ซึ่งมักจะทำเป็นแผนผังแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษา ประกอบการอธิบาย
          http://www.gotoknow.org/posts/400777 ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า กรอบแนวความคิด (Conceptual framework)การกำหนดกรอบแนวความคิดในการวิจัย เป็นขั้นตอนต่อจากการกำหนดประเด็นปัญหาวิจัย
1 ความหมาย
*หมายถึงกรอบของการวิจัยด้านเนื้อหาสาระประกอบด้วยตัวแปร การระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
*ต่างจากขอบเขตการวิจัย ที่หมายถึงประเด็นต่างๆ ที่จะศึกษาและขอบเขตของประชากรที่จะศึกษา
*กรอบแนวความคิดมีพื้นฐานจากทฤษฎี
       1.1การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) กับกรอบแนวความคิด
*ระบุเฉพาะตัวแปรที่จะศึกษา ไม่ระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร เหมือนขอบเขตด้านเนื้อหาสาระของการวิจัย
       1.2การวิจัยเชิงอธิบาย (Explanatory research) กับกรอบแนวความคิด
*ระบุตัวแปรและความสัมพันธ์
      1.3สรุปกรอบแนวความคิด 
 1) เป็นกรอบการวิจัยด้านเนื้อหาสาระ ประกอบด้วยตัวแปรและการระบุความสัมพัน์ระหว่างตัวแปร
 2) หรือเป็นแนวความคิดของผู้วิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่กำหนดเป็นสมมติฐาน
 3) มีความสำคัญสำหรับการวิจัยประเภทการอธิบาย (Explanatory research) เพราะเรื่องเดียวกันมีทฤษฎี หรือแนวคิดเพื่อการศึกษาหลายรูปแบบ
 4) ควรมีพื้นฐานจากทฤษฎีเพื่อเพิ่มพูนและปรับปรุงความรู้เติมให้ถูกต้องยิ่งขึ้น
 5) กรอบแนวคิด = สมมติฐาน เพราะระบุความสัมพันธ์ของตัวแปรเช่นเดียวกัน
 6) ได้จากผลงานวิจัยและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง แนวความคิด
 7) การศึกษาเรื่องเดียวกันมีทฤษฎีและแนวคิดในการมองปัญหาหลายรูปแบบการ ระบุกรอบแนวคิดจะทำให้มองปัญหาหลายรูปแบบ การระบุกรอบแนวคิดจะทำให้ทราบว่าผู้วิจัยมีแนวความคิดกับสิ่งที่ศึกษาและคิดว่าอะไรสัมพันธ์กับอะไร รูปแบบและทิศทางใด
     1.4 การเสนอกรอบแนวความคิด
 1) คำพรรณนา เขียนบรรยาย ตัวแปรที่สำคัญและความสัมพันธ์กับตัวแปรตาม ประเด็นของปัญหาวิจัย
 2) แบบจำลอง ใช้สัญลักษณ์และสมการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามและตัวแปรอิสระ เช่น        A = f (I, E, O, G)
A = Adoption             I = Income
O = Occupation         E = Education
G = Group membership
A = a+b1I + b2 E+b3 O+ b4G
A = ค่าคงที่
b1...b4 = สัมประสิทธิ์สหพันธ์ระหว่าง I, E, O และ G ที่มีต่อ A
เครื่องหมาย +(บวก) หรือ – (ลบ) แสดงทิศทางของความสัมพันธ์กับตัวแปรตามคือ A (Adoption)
 3) แบบผสมผสาน
พรรณนา + จำลอง
พรรณนา + แผนภาพ (หรือแผนภูมิ) นิยมมาก
แผนภาพ + จำลอง                                                                                                 
 สรุป
    กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework) เป็นขั้นตอนหนึ่งในการเขียนโครงร่างการวิจัย (Research Proposal) เป็นการสรุปความคิดของผู้ทำวิจัย ได้แก่ สิ่งที่ผู้วิจัยต้องการทำนั้นมีรูปแบบและทิศทางใด มีประเด็นใดบ้างที่ต้องการทำวิจัย และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ ที่กำหนดไว้เป็นข้อสมมุติฐานในการศึกษาวิจัย ทั้งตัวแปรต้น (ตัวแปรอิสระ) และตัวแปรตาม และหาแนวทางการค้นหาคำตอบ จากนั้นประมวลเป็นกรอบแนวคิดการวิจัยเรื่องนั้น จึงต้องทำความเข้าใจในเรื่องต่อไปนี้
1. ปัญหาหลักที่ต้องการวิจัยคืออะไร  และอะไรเป็นปัญหาที่ต้องการทราบกันแน่
2. อะไรเป็นตัวแปรตามและตัวแปรอิสระ ตัวแปรแทรกและตัวแปรควบคุม ตัวแปรต่างๆที่นำมาศึกษามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างไร
3. ข้อมูลที่จะใช้ในการวิจัยเรื่องนั้นมีอะไรบ้าง แหล่งข้อมูลอยู่ที่ไหนและจะเก็บรวบรวมมาได้อย่างไร
4. การหาคำตอบในการวิจัยนั้น สามารถใช้ระเบียบวิธีวิจัย หรือแบบการวิจัย(research design) ในลักษณะใดได้บ้าง และจะเลือกใช้การวิจัยแบบใด ทำไมจึงเลือกแบบนั้น
5. มีแนวคิดและทฤษฎีอะไรบ้างที่สนับสนุนการวิจัยในปัญหานี้
6. มีข้อตกลงเบื้องต้นในการทำวิจัยเรื่องนี้หรือไม่ มีอย่างไรบ้าง
อ้างอิง เว็บไซต์:http://ruchareka.wordpress.com/2009/08/07/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2-conceptual-framewo/.[ออนไลน์].เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2555.
   บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์.(2549).ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์.(พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร : จามจุรีโปรดักท์.
  เว็บไซต์:http://www.gotoknow.org/posts/400777.[ออนไลน์].เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2555.

วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

6.สมมติฐาน (Hypothesis)

      http://e-learning.snru.ac.th/els/scilife/unit1/hypothesis.htm  ได้สรุปและกล่าวไว้ว่า  สมมติฐาน (Hypothesis)  หมายถึง ข้อความที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้นเพื่อคาดคะเนคำตอบของปัญหาล่วงหน้าก่อนที่จะดำเนินการทดลอง  สมมติฐานใดจะเป็นที่ยอมรับหรือไม่ขึ้นอยู่กับหลักฐาน  เหตุผลที่จะสนับสนุนหรือคัดค้าน (ข้อความที่เป็นสมมติฐานต้องเป็นข้อความคาดคะเนคำตอบโดยที่บุคคลนั้นยังไม่เคยรู้หรือเรียนมาก่อน)  ตัวอย่าง    "เมื่อพืชได้รับแสงมากขึ้น  พืชนะเจริญเติบโตขึ้น"
        "ถ้าเพิ่มทำละลาย  จุดเดือดของสารละลายจะเพิ่มขึ้น"        
        "ถ้าเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้กับพืชมากเกินไป  พืชจะเฉาตาย"       
        "ถ้าอุณหภูมิที่แวดล้อมมีผลต่อการเจริญเติบโตของบัคเตรี ดังนั้น บัคเตรีที่อยู่ในอุณหภูมิพอเหมาะจะเจริญเติบโตมากกว่าบัคเตรีที่อยู่ในอุณหภูมิไม่เหมาะสม"        
        "ถ้าช่วงขาที่มีผลต่อเวลาที่ใช้ในการวิ่ง  ดังนั้น นาย ก. ซึ่งมีช่วงขายาวกว่า  นาย ข. จะใช้เวลาในการวิ่ง 100 เมตร น้อยกว่า"        
        "ในการปล่อยลูกบอลจากระดับที่สูงขึ้นลงสู่พื้นมีผลต่อความสูงที่ลูกบอลกระเด้งขึ้น  ดังนั้นลูกบอลที่ปล่อยจากระดับที่สูงกว่าจะกระเด้งสูงกว่าบอลที่ปล่อยจากระดับที่ต่ำกว่า"
        http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 ได้สรุปและกล่าวไว้ว่ การตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเนหรือการทายคำตอบอย่างมีเหตุผล มักเขียนในลักษณะ การแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น(independent variables) และตัวแปรตาม (dependent variable) เช่น การติดเฮโรอีนชนิดฉีด เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคเอดส์ สมมติฐานทำหน้าที่เสมือนเป็นทิศทาง และแนวทาง ในการวิจัย จะช่วยเสนอแนะ แนวทางในการ เก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป สมมติฐานต้องตอบวัตถูประสงค์ของการวิจัยได้ครบถ้วนและทดสอบและวัดได้
        นอกจากนี้ ผู้วิจัยควรนำเอาสมมติฐานต่างๆ ที่เขียนไว้มารวมกันให้เป็นระบบและมีความเชื่อมโยงกันในลักษณะที่เป็นกรอบแนวความคิดของการศึกษาวิจัยทั้งเรื่อง เช่น จะศึกษาถึง พฤติกรรมสุขภาพเมื่อเจ็บป่วยของคนงาน อาจต้องแสดง (นิยมทำเป็นแผนภูมิ) ถึงที่มาหรือปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดในพฤติกรรมดังกล่าว หรือในทางกลับกัน ผู้วิจัยอาจกำหนดกรอบแนวความคิดของการวิจัย ซึ่งระบุว่าการวิจัยนี้มีตัวแปรอะไรบ้าง และตัวแปรเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันอย่างไรก่อน แล้วจึงเขียนสมมติฐานที่ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในลักษณะที่เป็นข้อๆ ในภายหลัง
   https://docs.google.com/viewer?a=v&q=cache:XUxhobD4CmoJ ได้สรุปและกล่าวไว้ว่ สมมติฐานทางการวิจัย มี 2 ชนิดคือ
1.1 สมมติฐานทางการวิจัยมีแบบมีทิศทาง ( Directional hypothesis ) เป็นสมมติฐานที่เขียนระบุอย่างชัดเจนถึงทิศทางของความแตกต่างถึงทิศทางของความแตกต่างระหว่างกลุ่ม โดยมีคำว่า
 ดีกว่า หรือ  สูงกว่าหรือ ต่ำกว่า หรือ น้อยกว่าในสมมติฐานนั้นๆดังตัวอย่างที่ 1 ข้างต้น หรือระบุทิศทางของความสัมพันธ์ โดยมีคำว่า ทางบวก หรือ ทางลบ ในสมมติฐานนั้นๆ เช่น
  ผู้บริหารเพศชายมีประสิทธิภาพในการบริหารงานมากกว่าผู้บริหารเพศหญิง
  ผู้บริหารชายมีการใช้อำนาจในตำแหน่งมากกว่าผู้บริหารหญิง
  ครูอาจารย์เพศชายมีความวิตกกังวลในการทำงานน้อยกว่าครูอาจารย์เพศหญิง
   เจตคติต่อวิชาวิจัยทางการศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิจัยทางการศึกษา
               1.2 สมมติฐานทางการวิจัยไม่มีแบบไม่มีทิศทาง (Nondirectional hypothesis ) เป็นสมมติฐานที่ไม่กำหนดทิศทางของความแตกต่างดังตัวอย่างที่ 2 หรือไม่กำหนดทิศทางของความสัมพันธ์  ดังตัวอย่างเช่น    นักเรียนที่มีเพศต่างกันมีเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์แตกต่างกัน
            ผู้บริหารที่มีเพศต่างกันมีปัญหาในการบริหารงานวิชาการแตกต่างกัน
            ภาวะผู้ของผู้บริหารมีความสัมพันธ์กับบรรยากาศองค์การ                                                   สรุป
สมมติฐาน (Hypothesis)  หมายถึง ข้อความที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้นเพื่อคาดคะเนคำตอบของปัญหาล่วงหน้าก่อนที่จะดำเนินการทดลอง  สมมติฐานใดจะเป็นที่ยอมรับหรือไม่ขึ้นอยู่กับหลักฐาน  เหตุผลที่จะสนับสนุนหรือคัดค้าน (ข้อความที่เป็นสมมติฐานต้องเป็นข้อความคาดคะเนคำตอบโดยที่บุคคลนั้นยังไม่เคยรู้หรือเรียนมาก่อน) ซึ่งสมมติฐานทางการวิจัย มี 2 ชนิดคือ
1.1 สมมติฐานทางการวิจัยมีแบบมีทิศทาง ( Directional hypothesis ) เป็นสมมติฐานที่เขียนระบุอย่างชัดเจนถึงทิศทางของความแตกต่างถึงทิศทางของความแตกต่างระหว่างกลุ่ม โดยมีคำว่า  ดีกว่า  หรือ   สูงกว่า  หรือ  ต่ำกว่า  หรือ  น้อยกว่า  
    1.2 สมมติฐานทางการวิจัยไม่มีแบบไม่มีทิศทาง (Nondirectional hypothesis ) เป็นสมมติฐานที่ไม่กำหนดทิศทางของความแตกต่างดังตัวอย่างที่ 2 หรือไม่กำหนดทิศทางของความสัมพันธ์  
อ้างอิง                                                                                    เว็บไซต์:http://e-learning.snru.ac.th/els/scilife/unit1/hypothesis.htm.[ออนไลน์].เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2555.                                                                                                              เว็บไซต์:http://blog.eduzones.com/jipatar/85921.[ออนไลน์].เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2555.                                                                                                                                  เว็บไซต์:https://docs.google.com/viewer?a=v&q=cache:XUxhobD4CmoJ.[ออนไลน์].เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2555.








วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2555

5.วัตถุประสงค์ของการวิจัย(Objective(s))

        http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/object-list1.htm ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า
การกำหนดวัตถุประสงค์ เป็นการนำเอาแนวความคิดของประเด็นปัญหาวิจัยมาขยายรายละเอียด โดยเรียบเรียงให้เป็นภาษาเขียนที่ชัดเจน เข้าใจง่าย การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยจะต้องเป็นการเขียนจากที่กำหนดปัญหาการวิจัยได้แล้ว
การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย หมายถึง แนวทางหรือทิศทางในการค้นหาคำตอบของปัญหา
- ในการวิจัยเชิงปริมาณ การเขียนวัตถุประสงค์จะระบุถึงตัวแปรที่ต้องการศึกษา
และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกับประเด็นที่ผู้วิจัยสนใจ คือ ระบุประชากรที่สนใจ ตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม- ในการวิจัยเชิงคุณภาพ การเขียนวัตถุประสงค์จะชี้ให้เห็นถึงลักษณะของการวิจัย ปรากฏการณ์ ธรรมชาติของกลุ่ม ชุมชน หรือ การวิจัยภายใต้สถานการณ์คำที่ใช้สำหรับการเขียนวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อค้นหา อธิบาย พัฒนา เปรียบเทียบ พิสูจน์ แสดงให้เห็น ฯลฯ
         http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า วัตถุประสงค์ของการวิจัย (objectives) เป็นการกำหนดว่าต้องการศึกษาในประเด็นใดบ้าง ในเรื่องที่จะทำวิจัย ต้องชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะทำ ทั้งขอบเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว การตั้งวัตถุประสงค์ ต้องให้สมเหตุสมผล กับทรัพยากรที่เสนอขอ และเวลาที่จะใช้ จำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ   
   1.วัตถุประสงค์ทั่วไป (General Objective)กล่าวถึงสิ่งที่ คาดหวัง (implication) หรือสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนี้ เป็นการแสดงรายละเอียด เกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย ในระดับกว้าง จึงควรครอบคลุมงานวิจัยที่จะทำทั้งหมด ตัวอย่างเช่น เพื่อศึกษาถึงปฏิสัมพันธ์ และความต้องการของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน      
    2.วัตถุประสงค์เฉพาะ (Specific Objective) จะพรรณนาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง ในงานวิจัยนี้ โดยอธิบายรายละเอียดว่า จะทำอะไร โดยใคร ทำมากน้อยเพียงใด ที่ไหน เมื่อไร และเพื่ออะไร โดยการเรียงหัวข้อ ควรเรียงตามลำดับความสำคัญ ก่อน หลัง ตัวอย่างเช่น                  
         2.1    เพื่อศึกษาถึงรูปแบบปฏิสัมพันธ์และการปรับตัวของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน  
         2.2    เพื่อศึกษาถึงปัญหาและความต้องการของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน
       http://www.vcharkarn.com/vblog/114763/6 ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objective of Research)  การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ดีนั้น  ผู้รู้ทั้งหลายมักกล่าวว่าควรระบุให้ชัดเจนเป็นรายข้อไม่ควรให้เป็นลักษณะของการบรรยาย  ทั้งนี้เพื่อความสะดวกง่ายดายในการตรวจสอบว่าการวิจัยได้ดำเนินไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยแล้วหรือไม่  การเขียนวัตถุประสงค์นั้นมักจะคำนึงถึงสิ่งอันเป็นหลักเป็นหัวใจดังต่อไปนี้คือ
1. ความชัดเจนของวัตถุประสงค์
2. ความเฉพาะเจาะจงของวัตถุประสงค์ของการวิจัย
3. ความเป็นไปได้ในการพิสูจน์วัตถุประสงค์
4. ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย และความสัมพันธ์สอดคล้องกับหัวข้อเรื่องตลอดจนความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับสมมติฐานของการวิจัย (Hypothesis)
    การกล่าวถึงความชัดเจนของวัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้มักจะเป็นการกล่าวที่ควบคู่กันไปกับเรื่องการตั้งสมมติฐานในการวิจัยเป็นหลัก  ทั้งนี้เพราะเรื่องทั้งสองเรื่องนี้จำต้องสอดคล้องกันอยู่เสมอ การตั้งวัตถุประสงค์ของการวิจัยขึ้นนั้นเป็นเสมือนการตั้งเข็มทิศขึ้นว่าจะเดินไปทางใด  และการตั้งสมมติฐานขึ้นก็เหมือนกับการสร้างความเชื่อว่าเราควรเดินตรงไปตามทางที่ได้ตั้งเข็มไว้แล้วนั้น  เช่นเชื่อว่าเส้นทางที่เราจะเดินไปถึงนั้นเป็นทางที่มีน้ำจืดอยู่เป็นอันมาก ฯลฯ ถ้าเมื่อใดก็ตามที่การเดินไปตามที่กำหนดไว้ไม่ทำให้เราพบน้ำจืด  เราก็เพียงแต่รู้ว่าสมมติฐานของเราไม่ถูกต้อง  เราไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ที่ตั้งอยู่เดิม  เพียงแต่ให้คำตอบตรงไปตามที่เราเห็น  ตามที่ได้ตังสมมติฐานไว้แล้วนั้น
    ข้อที่ควรพิจารณาเกี่ยวกับสมมติฐานก็คือ  ความสามารถในการพิสูจน์สมมติฐาน  ความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์  ความเฉพาะเจาะจงและความชัดเจนของสมมติฐานนั้น  ความสอดคล้องกับเครื่องมือที่ใช่ในการวิจัยและกลุ่มตัวอย่าง  ความสัมพันธ์กับวิธีการดำเนินการวิจัย (Methodology)     เป็นต้น   สิ่งที่ผมได้พูดมานี้ขออย่าได้เข้าใจผิดว่าผมได้เป็นคนพูดแต่เพียงคนเดียวนะครับ ใครๆอีกหลายๆท่านที่เป็นนักวิจัยผู้ทรงคุณวุฒิต่างก็พูดกันมาอย่างนี้ทั้งนั้น  ผมเองได้สิ่งเหล่านี้มาก็ด้วยการศึกษาอ้างอิงจากท่านเหล่านั้นเหมือนกัน
  สรุป
    วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objective of Research) เป็นการกำหนดว่าต้องการศึกษาในประเด็นใดบ้าง ในเรื่องที่จะทำวิจัย ต้องชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะทำ ทั้งขอบเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว การตั้งวัตถุประสงค์ ต้องให้สมเหตุสมผล กับทรัพยากรที่เสนอขอ และเวลาที่จะใช้ จำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ   
   1.วัตถุประสงค์ทั่วไป (General Objective)กล่าวถึงสิ่งที่ คาดหวัง (implication) หรือสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 
   2.วัตถุประสงค์เฉพาะ (Specific Objective) จะพรรณนาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง ในงานวิจัยนี้ โดยอธิบายรายละเอียดว่า จะทำอะไร โดยใคร ทำมากน้อยเพียงใด ที่ไหน เมื่อไร และเพื่ออะไร 
โดยมีวิธีการเขียนคือ การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย หมายถึง แนวทางหรือทิศทางในการค้นหาคำตอบของปัญหา
- ในการวิจัยเชิงปริมาณ การเขียนวัตถุประสงค์จะระบุถึงตัวแปรที่ต้องการศึกษาและความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกับประเด็นที่ผู้วิจัยสนใจ คือ ระบุประชากรที่สนใจ ตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม- ในการวิจัยเชิงคุณภาพ การเขียนวัตถุประสงค์จะชี้ให้เห็นถึงลักษณะของการวิจัย ปรากฏการณ์ ธรรมชาติของกลุ่ม ชุมชน หรือ การวิจัยภายใต้สถานการณ์คำที่ใช้สำหรับการเขียนวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อค้นหา อธิบาย พัฒนา เปรียบเทียบ พิสูจน์ แสดงให้เห็น ฯลฯ 
  อ้างอิง
   เว็บไซต์:http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/object-list1.htm.[ออนไลน์].เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2555.
 เว็บไซต์:http://blog.eduzones.com/jipatar/85921.[ออนไลน์].เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2555.
   เว็บไซต์:http://www.vcharkarn.com/vblog/114763/6.[ออนไลน์].เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2555.

4.คำถามของการวิจัย(Research Question(s))

     องอาจ นัยพัฒน์(2551, หน้า 43-44) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า การเขียนปัญหาการวิจัย ในรูปคำถามสามารถเขียนได้ 3 ลักษณะ คือ
 1. ประเด็นคำถามเชิงพรรณนา  ได้แก่ การกำหนดหัวข้อปัญหาวิจัยในรูปคำถามที่ว่า
  “ อะไรคือ อะไรเป็น” (What is)
การตอบประเด็นคำถามดังกล่าวนี้ แสดงเป็นนัยว่า นักวิจัยจะต้องอาศัยการวิจัยเชิงสำรวจ  เช่น
-อะไรคือพฤติกรรมแปลกแยกของนิสิต/นักศึกษาที่มีความเบี่ยงเบนทางเพศ?
-อะไรคือพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารโรงพยาบาลศูนย์ดีเด่นและไม่ดีเด่น? 
 2. ประเด็นคำถามเชิงความสัมพันธ์ ได้แก่ การกำหนดหัวข้อปัญหาวิจัย ในรูปของคำถามที่มุ่งหาคำตอบว่า   “ ตัวแปร X  มีความสัมพันธ์กับตัวแปร Y หรือไม่”  หรือ
   “ ตัวแปร X  พยากรณ์ตัวแปร Y ได้หรือไม่”
การสืบหาคำตอบของคำถามทั้ง 2 ประเด็นนี้ แสดงเป็นนัยว่านักวิจัยต้องออกแบบการวิจัยเป็นประเภทการศึกษาสหสัมพันธ์(correlation  design)  เช่น
-อัตมโนทัศน์ของนักเรียนมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหรือไม่?
-เพศ ผลการเรียนเดิมเกรดเฉลี่ย(GPA)ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ความเอาใจใส่ต่อการศึกษาเล่าเรียน ทำนายความสำเร็จในการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีได้อย่างแม่นตรงหรือไม่?
3. ประเด็นคำถามเชิงเปรียบเทียบ ได้แก่ การกำหนดหัวข้อปัญหาวิจัย ในรูปของคำถามที่มุ่งเน้นการเปรียบเทียบพฤติกรรมหรือปรากฏการณ์ที่สนใจระหว่างกลุ่มควบคุมที่ที่ดำเนินตามสภาวะปกติและกลุ่มทดลองที่จัดกระทำทางการทดลองขึ้น กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ รูปแบบของคำถามประเภทนี้มุ่งหาคำตอบว่า  “มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่างหรือวิธีการที่นักวิจัยดำเนินการขึ้นหรือไม่”
คำถามวิจัยประเภทนี้ต้องอาศัยแบบการวิจัยเชิงทดลอง(experimental design) หรือการศึกษาย้อนรอยเปรียบเทียบหาสาเหตุ(causal comparative design) มาใช้ในการสืบค้นหาคำตอบ เช่น
-ผู้บริหารโรงพยาบาลศูนย์ดีเด่นและไม่ดีเด่น มีพฤติกรรมการบริหารงานด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง(transformational leadership) การจัดการ การตัดสินใจ และการติดต่อสื่อสารแตกต่างกันหรือไม่?
    http://lccu502.blogspot.com/2008/12/blog-post.html ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า คำถามวิจัย คือ ข้อความที่เป็นประโยคคำถามซึ่งแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการค้นคว้าหาคำตอบ ทั้งนี้คำถามการวิจัยควรเป็นคำถามที่ยังไม่มีคำตอบ หรือไม่สามารถหาคำตอบได้จากตำรา หรือความรู้เดิมที่มีอยู่ก่อนแล้ว อนึ่งในการออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพนั้น คำถามการวิจัยมิได้แข็งตัวหรือปรับแก้ไม่ได้ แต่ผู้วิจัยสามารถปรับเปลี่ยนได้ในระหว่างการทำงานภาคสนาม หรือเมื่อได้ข้อค้นพบบางประการจากการวิจัยซึ่งอาจช่วยพัฒนาคำถามวิจัยขึ้นใหม่ได้ (generative question)   สรุป term ต่างๆ ที่สำคัญ คือ
คำถามวิจัย ภายใต้หัวเรื่องที่เราสนใจใคร่รู้นั้น มีเรื่องอะไรบ้างที่เรายังไม่มีความรู้ และเราต้องการหาความรู้ในเรื่องนั้นๆ คำถามวิจัยมักจะเขียนในประโยคคำถาม เช่น how who what where แต่ก็อาจจะเขียนในรูปประโยคบอกเล่าได้ ซึ่งมักจะเรียกกันว่าเป็น ประเด็นวิจัย
เมื่อเราได้หัวข้อ และคำถามการวิจัยแล้ว ขั้นตอนไปเป็นการสร้าง concept ในการวิจัยด้วยการสังเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง และกำหนดขอบเขตเชิงทฤษฎี (theoretical framework) เพื่อช่วยให้เราสร้างกรอบความคิดในการวิิจัย (conceptual framework) และกำหนดขอบเขตของการวิจัย (scope of study) ได้ชัดเจนต่อไป
     http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า คำถามของการวิจัย (research question )  เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องกำหนดขึ้น (problem identification) และให้นิยามปัญหานั้น อย่างชัดเจน เพราะปัญหาที่ชัดเจน จะช่วยให้ผู้วิจัย กำหนดวัตถุประสงค์ ตั้งสมมติฐาน ให้นิยามตัวแปรที่สำคัญ ๆ ตลอดจน การวัดตัวแปรเหล่านั้นได้ ถ้าผู้วิจัย ตั้งคำถามที่ไม่ชัดเจน สะท้อนให้เห็นว่า แม้แต่ตัวก็ยังไม่แน่ใจ ว่าจะศึกษาอะไร ทำให้การวางแผนในขั้นต่อไป เกิดความสับสนได้        คำถามของการวิจัยต้องเหมาะสม (relevant) หรือสัมพันธ์ กับเรื่องที่จะศึกษา โดยควรมีคำถาม ที่สำคัญที่สุด ซึ่งผู้วิจัย ต้องการคำตอบ มากที่สุด เพื่อคำถามเดียว เรียกว่า คำถามหลัก (primary research question) ซึ่งคำถามหลักนี้ จะนำมาใช้เป็นข้อมูล ในการคำนวณ ขนาดของตัวอย่าง (sample size) แต่ผู้วิจัย อาจกำหนดให้มี คำถามรอง (secondary research question) อีกจำนวนหนึ่งก็ได้ ซึ่งคำถามรองนี้ เป็นคำถาม ที่เราต้องการคำตอบ เช่นเดียวกัน แต่มีความสำคัญรองลงมา โดยผู้วิจัย ต้องระลึกว่า ผลของการวิจัย อาจไม่สามารถ ตอบคำถามรองนี้ได้ ทั้งนี้เพราะ การคำนวณขนาดตัวอย่าง ไม่ได้คำนวณเพื่อตอบคำถามรองเหล่านี้
สรุป
  คำถามของการวิจัย (research question ) เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องกำหนดขึ้น (problem identification) และให้นิยามปัญหานั้น อย่างชัดเจน เพราะปัญหาที่ชัดเจน จะช่วยให้ผู้วิจัย กำหนดวัตถุประสงค์ ตั้งสมมติฐาน ให้นิยามตัวแปรที่สำคัญ ๆ ตลอดจน การวัดตัวแปรเหล่านั้นได้ โดยสามารถเขียนได้ 3 ลักษณะ คือ
1. ประเด็นคำถามเชิงพรรณนา ได้แก่ การกำหนดหัวข้อปัญหาวิจัยในรูปคำถามที่ว่า
   “ อะไรคือ อะไรเป็น” (What is)
2. ประเด็นคำถามเชิงความสัมพันธ์   ได้แก่ การกำหนดหัวข้อปัญหาวิจัย ในรูปของคำถามที่มุ่งหาคำตอบ
 3. ประเด็นคำถามเชิงเปรียบเทียบ ได้แก่ การกำหนดหัวข้อปัญหาวิจัย ในรูปของคำถามที่มุ่งเน้นการเปรียบเทียบพฤติกรรมหรือปรากฏการณ์ที่สนใจระหว่างกลุ่มควบคุมที่ที่ดำเนินตามสภาวะปกติและกลุ่มทดลองที่จัดกระทำทางการทดลองขึ้น กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ รูปแบบของคำถามประเภทนี้มุ่งหาคำตอบ
อ้างอิง
    องอาจ นัยพัฒน์. (2551).วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.(พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพมหานคร : สามลดา.

    เว็บไซต์:http://lccu502.blogspot.com/2008/12/blog-post.html.[ออนไลน์].เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2555.
   เว็บไซต์:http://blog.eduzones.com/jipatar/85921.[ออนไลน์].เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2555.

วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555

3.ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง(Review of Rrlated Literatures)

 http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:ArXYySikvjEJ:netra.lpru.ac.th/~phaitoon/RESEARCH/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2/doc.htm+&cd=1&hl=th&ct=clnk&gl=th ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า
 ขั้นตอนในการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง
1.กำหนดจุดมุ่งหมายของการทบทวนเอกสารให้ชัดเจน การกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนจะช่วยให้ทราบว่าเอกสารใดบ้างควรเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทำวิจัย มีแนวทางในการการคัดเลือกเอกสาร และการจับประเด็นจากเอกสารต่าง ๆ ทำได้ง่ายและชัดเจนขึ้น
2.สำรวจเอกสารที่เกี่ยวข้อง นักวิจัยจะต้องสำรวจว่าการจะทบทวนเอกสารเพื่อจุดมุ่งหมายแต่ละอย่างนั้น ควรจะมีเอกสารอะไรบ้างที่จะต้องนำมาทบทวน  การสำรวจอาจจะเริ่มจากเอกสารรอง ซึ่งเป็นเอกสารที่ทำขึ้นโดยใช้สารสนเทศจากเอกสารหลัก
3.สืบค้นหาเอกสารที่เกี่ยวข้อง นักวิจัยต้องทราบว่าเอกสารที่ต้องการนั้นอยู่ที่ไหน จะหามาได้อย่างไรนักวิจัยจะต้องรู้จักแหล่งเอกสารประเภทต่างๆ เช่น ห้องสมุด ศูนย์สารนิเทศ ศูนย์เอกสารสนเทศ หอจดหมายเหตุ ฯลฯ เป็นต้น  และที่สำคัญคือจะต้องมีทักษะในการสืบค้น (Searching skill) หาเอกสารเหล่านั้นด้วย  นั่นคือจะต้องมีความรู้ว่าเอกสารเหล่านั้นจัดเก็บไว้อย่างไร จะเข้าถึงเอกสารนั้นได้อย่างไร ปัจจุบันเทคโนโลยีในการจัดเก็บเอกสารได้พัฒนาก้าวหน้าไปมาก มีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยจัดเก็บเอกสารไว้ในสื่อรูปแบบต่างๆ ที่จะช่วยให้การสืบค้นเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วและกว้างขวาง  นักวิจัยจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการสืบค้นเอกสารจากสื่อเหล่านี้ และติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางด้านนี้อย่างต่อเนื่องเพราะมีการพัฒนาไปค่อนข้างจะรวดเร็ว  จึงจะทำให้การสืบค้นเอกสารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
4.คัดเลือกเอกสาร เอกสารที่ได้จากการสืบค้นในข้อ 3 นั้นไม่ใช่ว่าจะใช้ได้ทั้งหมด นักวิจัยจะทำการคัดเลือกเอาเฉพาะเอกสารที่มีความเกี่ยวข้องจริงๆ ตามจุดมุ่งหมาย ดังนั้นเมื่อได้เอกสารมานักวิจัยจะต้องอ่านอย่างคร่าวๆ (Scanning) ก่อนว่าเอกสารนั้นมีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะวิจัยอย่างแท้จริงหรือไม่ และจะคัดเลือกไว้เฉพาะเอกสารที่มีความเกี่ยวข้องอย่างแท้จริงเท่านั้นเพื่อทบทวนอย่างลึกซึ้งต่อไป
5.ลงมืออ่านเอกสารอย่างละเอียดจับประเด็นสำคัญให้ได้ตามจุดมุ่งหมาย ถ้าเป็นเอกสารงานวิจัยประเด็นสำคัญที่ต้องการมักจะได้แก่ ปัญหาหรือคำถามหรือวัตถุประสงค์ของการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย  ข้อสันนิษฐาน วิธีดำเนินการวิจัย  สรุปผลการวิจัย เป็นต้น  
6.จดบันทึกสาระที่ได้จากการอ่าน ควรจดบันทึกลงในบัตร ขนาดของบัตรที่นิยมใช้บันทึกมักจะมีขนาดประมาณ 3 x 5 นิ้ว  ควรบันทึกประเด็นที่ได้จากการอ่านลงในบัตรประเด็นละใบ  และไม่ควรลืมบันทึกข้อมูลบรรณานุกรมของเอกสารด้วย เพื่อจะใช้ประโยชน์ในการอ้างอิงถึงเมื่อจะต้องเรียบเรียงผลการประมวลเอกสารที่เกี่ยวข้อง
7.สังเคราะห์สาระที่ได้จากอ่านเข้าด้วยกัน
8.เรียบเรียงผลการประมวลเอกสารที่เกี่ยวข้อง
&sig2=EktKqzciq7yj2HaXiP_Haw  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า
การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องสามารถนำมาผลการค้นคว้าใช้อ้างอิงในการวิจัยได้ 2 ลักษณะใหญ่ ๆ  คือ 
            1.  การอ้างอิงเชิงทฤษฎี  ( Theoretical  Reference  )
            2.  การอ้างอิงเชิงประจักษ์  (  Empirical  Reference  )
การอ้างอิงเชิงทฤษฎี การนำผลการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องซึ้งได้สาระเกี่ยวกับทฤษฎี แนวคิดและผลงานวิจัยต่าง ๆ มาอ้างอิงในขั้นตอนต่าง ๆ ของการวิจัยได้หลายขั้นตอน ตัวอย่างเช่น
1.ขั้นตอนการเลือกเรื่องวิจัยหรือการกำหนดหัวข้อวิจัย ร่างหัวข้อวิจัยที่เคยกำหนดไว้เดิมนั้น หลังจากทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว  อาจมีการปรับปรุงหัวข้อวิจัยให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น
2.ขั้นตอนการกำหนดปัญหาการวิจัย ร่างการกำหนดปัญหาการวิจัยที่กำหนดไว้เดิม อาจมีขอบเขตเฉพาะเจาะจงที่ยังไม่ครอบคลุมองค์ประกอบของปัญหาที่กว้างขวางมากพอ หลังจากทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว อาจมีการปรับปรุงการกำหนดปัญหาการวิจัยให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น
3.ขั้นตอนการกำหนดความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ร่างการกำหนดความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาที่เคยกำหนดไว้เดิมนั้น  หลังจากทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว  อาจมีการปรับปรุงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาให้มีเหตุผลกว้างขวางมากยิ่งขึ้น
4.ขั้นตอนการกำหนดสมมติฐานการวิจัย ร่างการคาดคะเนคำตอบของปัญหาการวิจัยที่กำหนดไว้เป็นสมมติฐานการวิจัยเดิมนั้น หลังจากทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว อาจมีการปรับปรุงการกำหนดสมมติฐานการวิจัยให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น
5.ขั้นตอนการกำหนดตัวแปรการวิจัย ร่างการกำหนดตัวแปรการวิจัยที่เคยกำหนดไว้เดิมนั้น  หลังจากทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว อาจมีการปรับปรุงตัวแปรการวิจัยให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น
6.ขั้นตอนการกำหนดนิยามศัพท์ ร่างการกำหนดนิยามศัพท์ที่เคยกำหนดไว้เดิมนั้นหลังจากการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว  อาจจะมีการปรับปรุงนิยามศัพท์ให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น
7.ขั้นตอนการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างและวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง ร่างการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างและวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างที่เคยกำหนดไว้เดิมนั้น หลังจากทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว  อาจจะมีการปรับปรุงขนาดกลุ่มตัวอย่างและวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
8.ขั้นตอนการกำหนดเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล ร่างเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลที่เคยกำหนดไว้เดิมนั้น  หลังจากทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วอาจมีการปรับปรุงเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลให้รัดกุมเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
9.ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล  ร่างการกำหนดการวิเคราะห์ข้อมูลที่เคยกำหนดไว้เดิมนั้นหลังจากทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว อาจมีการปรับปรุงสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
การอ้างอิงเชิงประจักษ์ การนำผลการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นการนำผลการรวบรวมข้อมูลที่ผู้วิจัยได้จากสภาพที่เป็นจริงมาเทียบเคียงกับขั้นตอนต่าง ๆ ของการอ้างอิงเชิงทฤษฎี มาอ้างอิงในขั้นตอนต่าง ๆ ของการวิจัยได้หลายขั้นตอน โดยผู้วิจัยจะประจักษ์จากการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเด็นทบทวนงานวิจัย ตัวอย่างเช่น
1.ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล หลังจากทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วพบว่าข้อมูลที่นำมาใช้ในการวิจัยจะมีทั้งข้อมูลปฐมภูมิ ข้อมูลทุติยภูมิ และอาจมีข้อมูลตติยภูมิ การใช้ข้อมูลประเภทใดก็ตามต้องคำนึงถึงความถูกต้องของข้อมูลนั้นเป็นสำคัญ มิฉะนั้นผลการวิจัยอาจจะคลาดเคลื่อนได้
2.ขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล ในกรณีที่ผู้วิจัยใช้ข้อมูลปฐมภูมิ  ต้องมีการสร้างเครื่องมือขึ้นซึ่งคุณภาพของเครื่องมือเป็นสิ่งสำคัญ ผู้วิจัยต้องนำเครื่องมือที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้ และดำเนินการตรวจสอบคุณภาพ หากคุณภาพของเครื่องมือยังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด  ก็ต้องปรับปรุงเครื่องมือจนเป็นที่น่าพอใจก่อนนำเครื่องมือนั้นไปเก็บรวบรวมข้อมูล
ทบทวนเอกสารและงานวิจัย(วรรณกรรม)ที่เกี่ยวข้องการทบทวนวรรณกรรม หมายถึง การศึกษาค้นคว้าเอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผู้วิจัยกำลังจะทำการศึกษา เพื่อให้มี
ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎี แนวคิด อันเชื่อมโยงมาสู่การกำหนดกรอบแนวคิดและตัวแปรที่เกี่ยวข้องซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ
ขั้นตอนในการทบทวนวรรณกรรม
-กำหนดขอบเขตของการทบทวนวรรณกรรม
-ค้นหาเอกสารหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
-การเลือกเอกสารและรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
-การอ่านเอกสาร
-บันทึกข้อมูล
-การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น
หลักการเขียนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
รูปแบบการอ้างอิง
อ้างอิงเชิงอรรถ (Footnote Style)ท้ายหน้าที่อ้างอิง โดยมีชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ หรือ บทความ ปีที่พิมพ์และหมายเลขหน้า
อ้างอิงระบบ นาม – ปี (Author – Date Style) มีเฉพาะชื่อนามสกุล ปีที่พิมพ์ และหมายเลขหน้า โดยวงเล็บไว้หลังข้อความที่อ้างอิง
สรุป
การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเด็นทบทวนงานวิจัย การทบทวนที่จะให้คุณค่าแก่นักวิจัยครบถ้วน  นอกจากการศึกษาเนื้อหาสาระแล้ว  นักวิจัยจะต้องศึกษารายละเอียดของการวิจัยทุกประเด็น  ตั้งแต่ชื่องาน วัตถุประสงค์การวิจัย กรอบแนวคิดการวิจัย  การกำหนดสมมติฐานการวิจัย ระเบียบวิธีวิจัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ตลอดจนการเขียนรายงานการวิจัย
  ขั้นตอนที่มีความสำคัญมากขั้นตอนหนึ่งของงานวิจัยคือการทบทวนวรรณคดีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Review  Literature  and Related Research)ขั้นนี้จะเป็นขั้นที่ช่วยทำให้ผลวิจัยเห็นแนวทางในการวิจัยว่าจะดำเนินการวิจัยอย่างไร จึงจะทำให้งานวิจัยทำสำเร็จได้อย่างมีคุณภาพ และนอกจากนี้ในขั้นนี้ยังบอกให้ผู้วิจัยที่จะทำในเรื่องนั้น ๆ ทราบว่า เรื่องที่จะทำนั้นมีผู้ใดทำไว้บ้างแล้ว ทำในลักษณะไหน ตัวแปรเป็นอย่างไร ระเบียบวิธีการวิจัยที่ทำนั้นทำอย่างไรพบอะไร เสนอแนะไว้อย่างไรบ้าง การทบทวนวรรณคดีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หมายถึงการอ่าน การศึกษา การเก็บประเด็นต่าง ๆ แนวคิด ทฤษฎี วิธีการ ข้อค้นพบต่าง ๆ จากงานวิจัย ตำรา หนังสือ วารสาร ตลอดทั้งเอกสาร สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจและสามารถนำมาอ้างอิงได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้   1.กำหนดขอบเขตของการทบทวนวรรณกรรม          
         2.ค้นหาเอกสารหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
         3.การเลือกเอกสารและรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง        
         4.การอ่านเอกสาร

         5.บันทึกข้อมูล                                                     
        6.การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น

อ้างอิง

วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

2.ความสําคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย(Background&Rationale)

   http://www.gotoknow.org/blogs/posts/261202 ได้กล่าวและรวบรวมไว้ว่า
การเขียนความสำคัญและความเป็นมาของการวิจัย เป็นการเขียนเพื่อตอบคำถามว่าเหตุใดจึงต้องวิจัยเรื่องนี้ ข้อค้นพบจากการวิจัยจะนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร มีความคุ้มค่าหรือไม่ในการวิจัยเรื่องดังกล่าว นิยมเขียนเน้นความเรียงที่เน้นความเป็นเหตุเป็นผล มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของเนื้อหาสาระ โดยให้มีความกระชับเข้าใจง่าย การเขียนนำเข้าสู่ปัญหาวิจัยควรเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวปัญหา โดยเขียนให้ข้อมูลที่ชัดเจนว่า ณ เวลาปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยในอดีตที่สามารถตอบปัญหาดังกล่าวได้ และปัญหาดังกล่าวสมควรได้รับการแก้ไขด้วยการหาคำตอบโดยกระบวนการวิจัย ข้อคำตอบที่ค้นพบควรมีลักษณะของการเสริมสร้างความรู้เพิ่มเติมจากข้อค้นพบจากงานวิจัยในอดีต เป็นองค์ความรู้ใหม่ ประเด็นของปัญหาวิจัยไม่มีข้อความเกี่ยวข้องกับคุณค่าหรือความคิดเห็น  ต้องมีการแสดงแหล่งหรือที่มาของข้อมูลที่นำมาอ้างอิงหรือสนับสนุนเหตุผลความจำเป็นในการโน้มน้าวให้ผู้อ่านเห็นคล้อยตามว่าสมควรทำวิจัยเรื่องดังกล่าวด้วย และแหล่งข้อมูลดังกล่าวต้องตรวจสอบได้
    http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:T0PwjczePZMJ:blog.eduzones.com/jipatar/85921+&cd=3&hl=th&ct=clnk&gl=th ได้กล่าวและรวบรวมไว้ว่า  อาจเรียกต่างๆกัน เช่น หลักการและเหตุผล ภูมิหลังของปัญหา ความจำเป็นที่จะทำการวิจัย หรือ ความสำคัญของโครงการวิจัย ฯลฯ ไม่ว่าจะเรียกอย่างไร ต้องระบุว่าปัญหาการวิจัยคืออะไร มีความเป็นมาหรือภูมิหลังอย่างไร มีความสำคัญ รวมทั้งความจำเป็น คุณค่าและประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัยในเรื่องนี้ โดยผู้วิจัยควรเริ่มจากการเขียนปูพื้นโดยมองปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาอย่างกว้างๆ ก่อนว่าสภาพทั่วๆไปของปัญหาเป็นอย่างไร และภายในสภาพที่กล่าวถึง  มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยหยิบยกมาศึกษาคืออะไร ระบุว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และการศึกษาที่เสนอนี้จะช่วยเพิ่มคุณค่า ต่องานด้านนี้ ได้อย่างไร
  
http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:Jo6lOwP7aTIJ:www.gotoknow.org/blogs/posts/491771+&cd=3&hl=th&ct=clnk&gl=th ได้กล่าวและรวบรวมไว้ว่า
      หนึ่งในความสำคัญของมนุษย์ชาติคือการวิจัย  เพราะเป็นรากเหง้าของความคิดจินตนาการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ที่นำพาวิถีชีวิตก้าวไปสู่ความเจริญทางวิทยาการต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความมั่นคงทั้งทางเศรษฐกิจและทางสังคม
      การวิจัยยังนำวิถีมนุษย์ให้รู้จักค้นหาในสิ่งที่ต้องการรู้ด้วยความสงสัยในสิ่งแปลกใหม่  จึงก่อเกิดผลที่ตามมาดังที่เราเห็นได้ไม่ว่าจะเป็น  เครื่องบิน  รถยนต์  โทรศัพท์มือถือ  ยารักษาโรค  ปุ๋ยเคมีชีวภาพและเรื่องอื่น ๆ มีมายมากที่ได้มาจากการวิจัย 
     ดังตัวอย่างที่เราเห็นได้ชัดเจนเช่น  เมื่อสองพี่น้องกระกูลไรค์  ( Wright ) ชาวอเมริกัน  ที่มีความอยากรู้อยากเห็นและสงสัยว่านกมันบินได้ยังไง  จนกลายมาเป็นเครื่องร่อนบินเหมือนนกได้  ทำให้เราสะดวกในการเดินทางแทนที่จะอาศัยขี่หลังม้าหลังช้างเดินทางไกลเหมือนอย่างในอดีต
     การวิจัยนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้า  ยิ่งมีการวิจัยค้นคว้ามาก  ความเจริญก้าวหน้ายิ่งมากขึ้น  สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์อาจก่อให้เกิดแก่บุคคลอย่างน้อย  3 ประการด้วยกัน  คือ
 1 . เป็นประโยชน์แก้นักสังคมศาสตร์  ทำให้มีความรู้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นของปัจเจกบุคคลหรือกลุ่ม  นอกจากนั้น  ยังทราบถึงเทคนิคและทฤษฎีใหม่ที่ได้จากการศึกษาด้วย
 2 . เป็นประโยชน์แก่ผู้นำชุมชน  และผู้ปฏิบัติงานในวิชาชีพต่าง ๆ  เช่น  นักบริหาร  ครูอาจารย์  กลุ่มผู้ใช้แรงงาน  และผู้บริหารงานในภาครัฐ  บุคคลเหล่านี้ใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยในการปรับปรุงนโยบาย  การวางแผน  และการปฏิบัติงานของตน
 3 . เป็นประโยชน์แก่บุคคลทั่วไป  ก่อให้เกิดความเข้าใจในพลวัต  ( Dynamic ) และศักยภาพ  ( Potential ) ของกิจกรรมบางอย่างของมนุษย์  และใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความสำเร็จในหน้าที่การงานส่วนตัว  และส่วนรวม.  วัลลภ  ลำพาย . ( 2547 : 4 ) .
    ในยุคปัจจุบันนี้เป็นที่แน่ชัดว่าผู้นำทุกประเทศและนักวิชาการรวมถึงผู้สนใจใฝ่รู้ต่างให้ความสำคัญของการวิจัยทั้งนั้น  รวมถึงการทุ่มเทงบประมาณลงสู่การวิจัยเพื่อสร้างสติปัญญาของคนในประเทศตนเอง  มีการผลิตแม้แต่อาวุธร้ายแรง  ไม่ว่าจะเป็นขีปนาวุธ  ระเบิดนิวเคลีย์  หรือส่งคนไปนอกโลกเดินทางในอวกาศ  บางประเทศผลิตผลเฉพาะโดดเด่นเช่นด้านน้ำหอมต้องยกให้ฝรั่งเศส  เครื่องจักรกลต้องยกให้เยอรมันนี 
     การผลิตสินค้าได้คุณภาพอย่างนี้  ได้สร้างผลกำไรมหาศาลกลับมาสู้ประเทศเป็นเพราะมาจากผลงานการวิจัยทั้งสิ้น  แต่อย่างไรก็ตาม.  สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ  ( 2550  : 14 )  ว่า  ประเทศไทยเป็นประเทศที่ถูกกำหนดโดยองค์การสหประชาชาติให้เป็นประเทศที่กำลังพัฒนา  ( developing  country )  อันเนื่องมาจากเมื่อเทียบประเทศไทยกับประเทศที่เจริญรุ่งเรืองในด้านเทคโนโลยีและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ  สังคมแล้ว  นับได้ว่าประเทศไทยยังอ่อนด้อยอยู่มาก
สรุป
    หนึ่งในความสำคัญของมนุษย์ชาติคือการวิจัย  เพราะเป็นรากเหง้าของความคิดจินตนาการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ที่นำพาวิถีชีวิตก้าวไปสู่ความเจริญทางวิทยาการต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความมั่นคงทั้งทางเศรษฐกิจและทางสังคม  การวิจัยเกิดมาจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติทั้งที่เป็นวัตถุธรรมและนามธรรมชวนให้ผู้สนใจใฝ่รู้ค้นคว้าที่มาที่ไปของสิ่งนั้น ๆ เช่น ทำไมอินเดียจึงมีที่สุดของที่สุดอยู่ในประเทศนั้น  คือมีความหนาวที่สุดจนภูเขาเป็นน้ำแข็งอย่างหิมาลัย  ขณะเดียวกันอินเดียมีความร้อนสุด ๆ จนมีทะเลทรายที่โยนไข่ลงไปแล้วสุกได้ เป็นต้น 
    เป็นการเขียนเพื่อตอบคำถามว่าเหตุใดจึงต้องวิจัยเรื่องนี้ ข้อค้นพบจากการวิจัยจะนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร มีความคุ้มค่าหรือไม่ในการวิจัยเรื่องดังกล่าว นิยมเขียนเน้นความเรียงที่เน้นความเป็นเหตุเป็นผล มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของเนื้อหาสาระ โดยให้มีความกระชับเข้าใจง่าย การเขียนนำเข้าสู่ปัญหาวิจัยควรเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวปัญหา โดยเขียนให้ข้อมูลที่ชัดเจนว่า ณ เวลาปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยในอดีตที่สามารถตอบปัญหาดังกล่าวได้ และปัญหาดังกล่าวสมควรได้รับการแก้ไขด้วยการหาคำตอบโดยกระบวนการวิจัย 
   การวิจัยเกิดมาจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติทั้งที่เป็นวัตถุธรรมและนามธรรมชวนให้ผู้สนใจใฝ่รู้ค้นคว้าที่มาที่ไปของสิ่งนั้น ๆ เช่น ทำไมอินเดียจึงมีที่สุดของที่สุดอยู่ในประเทศนั้น  คือมีความหนาวที่สุดจนภูเขาเป็นน้ำแข็งอย่างหิมาลัย  ขณะเดียวกันอินเดียมีความร้อนสุด ๆ จนมีทะเลทรายที่โยนไข่ลงไปแล้วสุกได้ เป็นต้น
อ้างอิง
  เว็บไซต์: http://www.gotoknow.org/blogs/posts/261202.[ออนไลน์].เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2555.
  เว็บไซต์: http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:T0PwjczePZMJ:blog.eduzones.com/jipatar/85921+&cd=3&hl=th&ct=clnk&gl=th. [ออนไลน์].เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2555.
    [ออนไลน์].เว็บไซต์ http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:Jo6lOwP7aTIJ:www.gotoknow.org/blogs/posts/491771+&cd=3&hl=th&ct=clnk&gl=th  .เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2555.
      
   

1.ชื่อเรื่อง(The Title)

 http://rforvcd.wordpress.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2/%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2/ ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า ผู้วิจัยต้องกำหนดชื่อหัวข้อปัญหาลงไปให้ชัดเจนว่า ปัญหานั้นคืออะไร ซึ่งการตั้งชื่อหัวข้อปัญหาการวิจัยนั้น รศ.ดร.ภญ. กัญญดา  อนุวงศ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พวงรัตน์ ทวีรัตน์ (2540) และสุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ (2544) อ้างจาก ศรีสุดา คล้ายคล่องจิตร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้ข้อคิดในการตั้งหัวข้อปัญหางานวิจัยไว้ดังนี้   
   1) ชื่อปัญหาควรสั้นกะทัดรัด และชัดเจน เพื่อระบุถึงเรื่องที่จะทำการศึกษาวิจัยว่า จะศึกษาเรื่องอะไรกับใคร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด หรือต้องการผลอะไร ครบคลุมปัญหาที่จะวิจัย
ตัวอย่างเช่น  “ประสิทธิผลของการใช้วัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันกับทหารในศูนย์ฝึกทหารใหม่ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ 2547”
ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ชื่อที่ยาวมากๆ แต่ไม่ฟุ่มเฟือย อาจแบ่งชื่อเรื่องออกเป็น 2 ตอน โดยให้ชื่อในตอนแรกมีน้ำหนักความสำคัญมากกว่า และตอนที่สองเป็นเพียงส่วนประกอบหรือส่วนขยาย เช่น “การศึกษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันโรคของนักเรียนชาย : เปรียบเทียบระหว่างนักเรียนอาชีวศึกษากับนักศึกษามหาวิทยาลัยปีที่ 1 ในกรุงเทพมหานคร 2547”
    2) ชื่อหัวข้อปัญหาที่ดีจะต้องแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรของปัญหานั้นๆ ตอบว่า ศึกษาปรากฏการณ์หรือตัวแปรอะไร  กับใคร ที่ไหน หรือเมื่อไร (ถ้าเกี่ยวกับเวลา)
ตัวอย่างเช่น  “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบกับวินัยในตนเองของนักศึกษาวิทยาลัยเพาะช่าง”
   3) ชื่อเรื่อง ควรขึ้นต้นด้วยคำนาม เพื่อให้เกิดความไพเราะสละสลวย ที่นิยมกัน คือ มักจะขึ้นด้วยคำว่า  การศึกษา  การสำรวจ  การวิเคราะห์  การเปรียบเทียบ
ตัวอย่างเช่น “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางสมองกับความสามารถทางการคิดแก้ปัญหาในวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนในชั้นมัธยมศึกษา”
“การเปรียบเทียบพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนจากการประเมินผลหลักสูตรประถมศึกษา  พุทธศักราช  2503  และพุทธศักราช  2521”
   4) ภาษาที่ใช้ต้องอ่านเข้าใจได้ง่าย ไม่ต้องตีความอีก ถ้ามีศัพท์เทคนิคต้องเป็นศัพท์ที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ
   5) การตั้งชื่อหัวข้อปัญหาจะต้องระวังไม่ให้ซ้ำซ้อนกับผู้อื่น แม้ว่าจะศึกษาในประเด็นที่คล้ายๆ กันก็ตาม
         ไพทูรย์  เวทการ (2540) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า
   1) ชื่อเรื่องมีความชัดเจน รัดกุม และสื่อความหมายได้ครอบคลุมเนื้อหาที่จะวิจัยหรือไม่
   2) ชื่อเรื่องได้มีการระบุปัญหาเป็นการเฉพาะหรือชี้ชัดประเด็นที่จะศึกษาได้เพียงใด
  3) ชื่อเรื่องกว้างหรือแคบเกินไปหรือไม่
  4) การใช้คำขึ้นต้นมีลักษณะเป็นคำนามที่สื่อความหมายได้เพียงใด
  5) การตั้งชื่อจูงใจและดึงดูดความสนใจของผู้อ่านเพียงใด
  1)หัวข้อวิจัยอาจเกิดจากความสนใจ ประสบการณ์ส่วนตัว ภูมิหลัง และปัญหาในการทำงาน เช่น นางสาวปริศนาปฏิบัติงานในตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา รับผิดชอบในการดำเนินจัดกิจกรรมและโครงการต่างๆ เพื่อเสริมประสบการณ์ในการเรียนการสอนแก่นักศึกษา เป็นจำนวน  99โครงการต่อปี ทั้งนี้ จากการประเมินโครงการในแต่ละครั้ง พบว่า ในแต่ละโครงการมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่ำกว่าร้อยละ 50 ดังนั้น นางสาวปริศนาจึงมีความสนใจที่จะทำวิจัย เพื่อจะแก้ไขปัญหาที่เป็นอยู่ในการปฏิบัติงานก็ได้
  2)การอ่านเอกสาร วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ตำรา วารสารวิจัยต่างๆ และปริญญานิพนธ์ต่างๆ บทความต่างๆที่เกี่ยวข้อง รายงานการวิจัย เป็นต้น จากการอ่านทบทวนและการวิเคราะห์วิพากษ์วิจารณ์วรรณกรรมเหล่านี้  จะทำให้เราทราบว่า ทำให้เราทราบถึงช่องว่างหรือโอกาสที่จะต่อยอดทางความคิดได้  หรือเรื่องที่ตนเองสนใจที่จะศึกษาหลังจากการได้อ่านผลงานวิจัยของคนอื่นแล้ว จะได้นำข้อค้นพบจาการทำวิจัยและข้อเสนอแนะที่ผู้วิจัยให้ไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการต่อยอดความคิด หรือเป็นแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องที่จะทำวิจัยได้  หรือจากการอ่านบทคัดย่อปริญญานิพนธ์/บทคัดย่อ เมื่ออ่านแล้วก็จะเกิดแนวความคิดในการเลือกหัวข้อปัญหาการวิจัยได้ และทราบว่ามีใครทำงานวิจัยอะไรบ้างและลดการทำงานวิจัยซ้ำซ้อนกับผู้อื่นด้วย จากแหล่งอื่นๆ เช่น การวิเคราะห์แนวโน้มของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงในสังคม ตามสภาพเวลาและเทคนิควิทยาการต่างๆ หรือจากข้อโต้แย้ง หรือการวิพากษ์วิจัยของบุคคลที่อยู่ในวงการนั้น ซึ่งบางครั้งจากการประชุม สัมมนาหรือการอภิปรายต่างๆ ในเรื่องที่ตรงกับที่ผู้วิจัยสนใจ หรือจากการศึกษาปัญหาจากสถาบันหรือหน่วยงานต่างๆ ที่มีการทำวิจัย หรือบุคคลที่กำลังทำวิจัยอยู่  เป็นต้น
   3) แหล่งทุนอุดหนุนการวิจัย  นับเป็นอีกแหล่งหนึ่งที่สามารถกำหนดที่มาของหัวข้องานวิจัยได้ โดยแหล่งทุนจะกำหนดหัวข้อกว้างๆให้ทราบว่า ขณะนี้แหล่งทุนนั้นๆกำลังสนใจที่จะสนับสนุนการวิจัยอะไรบ้าง และอาจให้หัวข้อตัวอย่างที่น่าสนใจไว้ ผู้ที่สนใจจะรับทุนอาจดัดแปลงหัวข้อที่แหล่งทุนระบุไว้ให้เข้ากับสภาพของสังคมไทย
  สรุป
การตั้งชื่อเรื่องปัญหาการวิจัย (Research Title) มีดังนี้
  1) ชื่อเรื่องมีความชัดเจน รัดกุม และสื่อความหมายได้ครอบคลุมเนื้อหาที่จะวิจัยหรือไม่
  2) ชื่อเรื่องได้มีการระบุปัญหาเป็นการเฉพาะหรือชี้ชัดประเด็นที่จะศึกษาได้เพียงใด
  3) ชื่อเรื่องกว้างหรือแคบเกินไปหรือไม่
  4) การใช้คำขึ้นต้นมีลักษณะเป็นคำนามที่สื่อความหมายได้เพียงใด
  5) การตั้งชื่อจูงใจและดึงดูดความสนใจของผู้อ่านเพียงใด
ซึ่งอาจจะมีที่มาจากหลายๆแห่งหรือหลายปัจจัย ได้แก่ 
  1)หัวข้อวิจัยอาจเกิดจากความสนใจ ประสบการณ์ส่วนตัว ภูมิหลัง และปัญหาในการทำงาน เช่น นางสาวปริศนาปฏิบัติงานในตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา รับผิดชอบในการดำเนินจัดกิจกรรมและโครงการต่างๆ เพื่อเสริมประสบการณ์ในการเรียนการสอนแก่นักศึกษา เป็นจำนวน  99โครงการต่อปี ทั้งนี้ จากการประเมินโครงการในแต่ละครั้ง พบว่า ในแต่ละโครงการมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่ำกว่าร้อยละ 50 ดังนั้น นางสาวปริศนาจึงมีความสนใจที่จะทำวิจัย เพื่อจะแก้ไขปัญหาที่เป็นอยู่ในการปฏิบัติงานก็ได้
  2)การอ่านเอกสาร วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ตำรา วารสารวิจัยต่างๆ และปริญญานิพนธ์ต่างๆ บทความต่างๆที่เกี่ยวข้อง รายงานการวิจัย เป็นต้น
  3) แหล่งทุนอุดหนุนการวิจัย  นับเป็นอีกแหล่งหนึ่งที่สามารถกำหนดที่มาของหัวข้องานวิจัยได้ โดยแหล่งทุนจะกำหนดหัวข้อกว้างๆให้ทราบว่า ขณะนี้แหล่งทุนนั้นๆกำลังสนใจที่จะสนับสนุนการวิจัยอะไรบ้าง และอาจให้หัวข้อตัวอย่างที่น่าสนใจไว้ ผู้ที่สนใจจะรับทุนอาจดัดแปลงหัวข้อที่แหล่งทุนระบุไว้ให้เข้ากับสภาพของสังคมไทย
   อ้างอิง
  ไพทูรย์  เวทการ.(2540).ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย.ลำปาง:โรงพิมพ์ช่างแดง
   เว็บไซต์:http://www.elearning.ns.mahidol.ac.th/km/index.php/research-knowledge-section/80-research-general-knowledge-category/217-2011-03-07-02-39-19.html.[ออนไลน์].เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2555.

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

รูปแบบของสื่อหลายมิติที่ใช้        

ในการเรียนการสอน

             กิดานันท์ มะลิทอง http://wongketkit.blogspot.com/ ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่าลักษณะของสื่อหลายมิติว่า
     (1) ภาพนิ่ง               (2) ภาพเคลื่อนไหว        (3) ภาพถ่าย     
     (4) เสียงพูด             (5) เสียงดนตรี                         
ทั้งหมดนี้เป็นลักษณะของสื่อหลายมิติ ที่ผู้สอนจะนำไปใช้ในการเรียนการสอน ทำให้นักเรียนมีความใฝ่เรียนมากขึ้น และเป็นแรงจูงใจอีกอย่างหนึ่ง
            http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=5903.0;wap2 ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า
รูปแบบของสื่อหลายมิติที่ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่
 

1. ภาพนิ่ง
2. ภาพเคลื่อนไหว
3. ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์
4. เสียง
5. ส่วนต่อประสาน
6. การเชื่อมโยงหลายมิติ 

           วัฒนา นัทธี .2547 http://www.edtechno.com/ กล่าวไว้ว่า ลักษณะโคร่งสร้างของสื่อหลายมิติ โดยทั้วไปแบ่งออกเป็น 3 แบบ
(1) รูปแบบหลัก(domain model:dm) เป็น รูปแบบโครงสร้างหลักของข้อมูลสารสนเทศทั้งหมดที่นำเสนอให้ผู้เรียน โดยรูปแบบหลักเปรียบเสมือนคลังของข้อมูลไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาประวัติ เนื้อแฟ้มข้อมูลนักเรียน
(2) รูปแบบของผู้เรียน(student model:sm) เป็น การออกแบบระบบที่ให้ความสำคัญกับรูปแบบการเรียนรู้ และคุณลักษณะของผู้เรียนแต่ละคนที่เหมาะสมกับข้อมูลสารสนเทศและเนื้อหาที่นำ เสนอเพื่อการตอบสนองแบบรายบุคคล
(3) รูปแบบการปรับตัว เป็นรูปแบบของความสามารถในการปรับตัวของระบบ ที่สอดคล้องกับรูปแบบหลัก และรูปแบบของผุ้เรียน โดยรูปแบบการปรับตัว ( Apaptive Model:AM) เป็นการพัฒนาโปรแกรมหรือระบบที่สามารถนำมาปรับใช้สื่อหลายมิติแบบปรับตัวได้ โดยส่วนใหญ่นิยมพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีเว็ปเป็นฐาน (Web-Based Intruction)

สรุป
    รูปแบบของสื่อหลายมิติที่ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่         
         1. ภาพนิ่ง                        2. ภาพเคลื่อนไหว                 3. ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์
         4. เสียง                            5. ส่วนต่อประสาน                  6. การเชื่อมโยงหลายมิติ

ทั้งหมดนี้เป็นลักษณะของสื่อหลายมิติ ที่ผู้สอนจะนำไปใช้ในการเรียนการสอน ทำให้นักเรียนมีความใฝ่เรียนมากขึ้น และเป็นแรงจูงใจอีกอย่างหนึ่ง
    ลักษณะโคร่งสร้างของสื่อหลายมิติ โดยทั้วไปแบ่งออกเป็น 3 แบบ

(1) รูปแบบหลัก(domain model:dm) เป็น รูปแบบโครงสร้างหลักของข้อมูลสารสนเทศทั้งหมดที่นำเสนอให้ผู้เรียน โดยรูปแบบหลักเปรียบเสมือนคลังของข้อมูลไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาประวัติ เนื้อแฟ้มข้อมูลนักเรียน
(2) รูปแบบของผู้เรียน(student model:sm) เป็น การออกแบบระบบที่ให้ความสำคัญกับรูปแบบการเรียนรู้ และคุณลักษณะของผู้เรียนแต่ละคนที่เหมาะสมกับข้อมูลสารสนเทศและเนื้อหาที่นำ เสนอเพื่อการตอบสนองแบบรายบุคคล
(3) รูปแบบการปรับตัว เป็นรูปแบบของความสามารถในการปรับตัวของระบบ ที่สอดคล้องกับรูปแบบหลัก และรูปแบบของผุ้เรียน โดยรูปแบบการปรับตัว ( Apaptive Model:AM) เป็นการพัฒนาโปรแกรมหรือระบบที่สามารถนำมาปรับใช้สื่อหลายมิติแบบปรับตัวได้ โดยส่วนใหญ่นิยมพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีเว็ปเป็นฐาน (Web-Based Intruction)
อ้างอิง   
รูปแบบของสื่อหลายมิติ[ออนไลน์].เว็บไซต์ กิดานันท์ มะลิทอง http://wongketkit.blogspot.com/ .เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2555.

    รูปแบบของสื่อหลายมิติ[ออนไลน์].เว็บไซต์ http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=5903.0;wap2  .เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2555.
    สื่อหลายมิติ[ออนไลน์].เว็บไซต์ วัฒนา นัทธี .2547 http://www.edtechno.com/ .เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2555.