วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

รูปแบบของสื่อหลายมิติที่ใช้        

ในการเรียนการสอน

             กิดานันท์ มะลิทอง http://wongketkit.blogspot.com/ ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่าลักษณะของสื่อหลายมิติว่า
     (1) ภาพนิ่ง               (2) ภาพเคลื่อนไหว        (3) ภาพถ่าย     
     (4) เสียงพูด             (5) เสียงดนตรี                         
ทั้งหมดนี้เป็นลักษณะของสื่อหลายมิติ ที่ผู้สอนจะนำไปใช้ในการเรียนการสอน ทำให้นักเรียนมีความใฝ่เรียนมากขึ้น และเป็นแรงจูงใจอีกอย่างหนึ่ง
            http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=5903.0;wap2 ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า
รูปแบบของสื่อหลายมิติที่ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่
 

1. ภาพนิ่ง
2. ภาพเคลื่อนไหว
3. ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์
4. เสียง
5. ส่วนต่อประสาน
6. การเชื่อมโยงหลายมิติ 

           วัฒนา นัทธี .2547 http://www.edtechno.com/ กล่าวไว้ว่า ลักษณะโคร่งสร้างของสื่อหลายมิติ โดยทั้วไปแบ่งออกเป็น 3 แบบ
(1) รูปแบบหลัก(domain model:dm) เป็น รูปแบบโครงสร้างหลักของข้อมูลสารสนเทศทั้งหมดที่นำเสนอให้ผู้เรียน โดยรูปแบบหลักเปรียบเสมือนคลังของข้อมูลไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาประวัติ เนื้อแฟ้มข้อมูลนักเรียน
(2) รูปแบบของผู้เรียน(student model:sm) เป็น การออกแบบระบบที่ให้ความสำคัญกับรูปแบบการเรียนรู้ และคุณลักษณะของผู้เรียนแต่ละคนที่เหมาะสมกับข้อมูลสารสนเทศและเนื้อหาที่นำ เสนอเพื่อการตอบสนองแบบรายบุคคล
(3) รูปแบบการปรับตัว เป็นรูปแบบของความสามารถในการปรับตัวของระบบ ที่สอดคล้องกับรูปแบบหลัก และรูปแบบของผุ้เรียน โดยรูปแบบการปรับตัว ( Apaptive Model:AM) เป็นการพัฒนาโปรแกรมหรือระบบที่สามารถนำมาปรับใช้สื่อหลายมิติแบบปรับตัวได้ โดยส่วนใหญ่นิยมพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีเว็ปเป็นฐาน (Web-Based Intruction)

สรุป
    รูปแบบของสื่อหลายมิติที่ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่         
         1. ภาพนิ่ง                        2. ภาพเคลื่อนไหว                 3. ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์
         4. เสียง                            5. ส่วนต่อประสาน                  6. การเชื่อมโยงหลายมิติ

ทั้งหมดนี้เป็นลักษณะของสื่อหลายมิติ ที่ผู้สอนจะนำไปใช้ในการเรียนการสอน ทำให้นักเรียนมีความใฝ่เรียนมากขึ้น และเป็นแรงจูงใจอีกอย่างหนึ่ง
    ลักษณะโคร่งสร้างของสื่อหลายมิติ โดยทั้วไปแบ่งออกเป็น 3 แบบ

(1) รูปแบบหลัก(domain model:dm) เป็น รูปแบบโครงสร้างหลักของข้อมูลสารสนเทศทั้งหมดที่นำเสนอให้ผู้เรียน โดยรูปแบบหลักเปรียบเสมือนคลังของข้อมูลไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาประวัติ เนื้อแฟ้มข้อมูลนักเรียน
(2) รูปแบบของผู้เรียน(student model:sm) เป็น การออกแบบระบบที่ให้ความสำคัญกับรูปแบบการเรียนรู้ และคุณลักษณะของผู้เรียนแต่ละคนที่เหมาะสมกับข้อมูลสารสนเทศและเนื้อหาที่นำ เสนอเพื่อการตอบสนองแบบรายบุคคล
(3) รูปแบบการปรับตัว เป็นรูปแบบของความสามารถในการปรับตัวของระบบ ที่สอดคล้องกับรูปแบบหลัก และรูปแบบของผุ้เรียน โดยรูปแบบการปรับตัว ( Apaptive Model:AM) เป็นการพัฒนาโปรแกรมหรือระบบที่สามารถนำมาปรับใช้สื่อหลายมิติแบบปรับตัวได้ โดยส่วนใหญ่นิยมพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีเว็ปเป็นฐาน (Web-Based Intruction)
อ้างอิง   
รูปแบบของสื่อหลายมิติ[ออนไลน์].เว็บไซต์ กิดานันท์ มะลิทอง http://wongketkit.blogspot.com/ .เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2555.

    รูปแบบของสื่อหลายมิติ[ออนไลน์].เว็บไซต์ http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=5903.0;wap2  .เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2555.
    สื่อหลายมิติ[ออนไลน์].เว็บไซต์ วัฒนา นัทธี .2547 http://www.edtechno.com/ .เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2555.

 

 

สื่อประสม (Multimedia)

   ฺ http://www.st.ac.th/av/inno_multimedia.htm ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า สื่อประสมหรือมัลติมีเดีย หมายถึงการนำเอาสื่อหลาย ๆ อย่าง เช่น รูปภาพ เทป แผ่นโปร่งใส มาใช้ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการเรียนการสอน ต่อมาเมื่อมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้มากขึ้น และสามารถใช้งาน ได้ทั้งภาพนิ่ง เสียง ข้อความและภาพเคลื่อนไหว ทำให้ความหมายของสื่อประสมเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งส่วนประกอบหลัก ที่มีใช้ทั่วไปของคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียจะมี CD-ROM sound card และลำโพง เพิ่มเข้ามาในคอมพิวเตอร์ หรืออาจมีส่วนประกอบที่เกี่ยวกับการใช้งานวิดีโอด้วย นอกจากนี้ยังมีความหมายรวมถึงการใช้การใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น เครื่องวิดีโอเทปเสียง ซีดีรอม กล้องดิจิตอล โทรทัศน์ฯลฯ ให้ทำงานร่วมกัน การใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมอุปกรณ์หลาย ๆ อย่างดังกล่าวจะต้องอาศัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) และอุปกรณ์ (Hardware) ต่าง ๆ ประกอบกัน บางครั้งจึงเรียกว่าสถานีปฏิบัติการมัลติมีเดีย (Multimedia workstation) 
    ฺ กิดานันท์ มลิทอง (2544, หน้า 6-7) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า สื่อประสม หมายถึง การนำสื่อหลาย ๆ ประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน ส่วน ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2533) กล่าวว่า การใช้สื่อประสมจะช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์จากประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกัน ได้พบวิธีการที่จะเรียนในสิ่งที่ต้องการได้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น หรือมีอีกความหมายหนึ่งว่า สื่อประสม หมายถึง การนำวัสดุอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพ หุ่นจำลอง หนังสือ เป็นต้น ซึ่งมีเนื้อหาสาระสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนการสอน แล้วเลือกมาประกอบกันเพื่อใช้ในการเรียนการสอนในแต่ละครั้งซึ่งความหมายของสื่อประสมที่กล่าวมาข้างต้นนั้น สอดคล้องกับแนวคิดของ สมสิทธิ จิตรสถาพร (2547) ที่กล่าวเสริมว่า สื่อประสม (multimedia) หมายถึง การใช้สื่อหลายอย่างประกอบกันอย่างเป็นระบบ
     ฺ http://www.ipesp.ac.th/learning/technology/html/shap5/bot5-2.html  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า  สื่อประสม I (Multimedia I) เป็นสื่อประสมที่ใช้โดยการนำเสนอสื่อหลายประเภทมาใช้
      ร่วมกันในการเรียนการสอน เช่น นำวีดิทัศน์มาสอนประกอบการบรรยายของผู้สอนโดยมีสื่อสิ่งพิมพ์
      ประกอบด้วย หรือการใช้ชุดการเรียนหรือชุดการสอน การใช้สื่อประสม I นี้ผู้เรียนและสื่อจะไม่มีปฏิสัม
      พันธ์โต้ตอบกัน และจะมีลักษณะเป็น "สื่อหลายแบบ" ตามศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถาน
              สื่อประสม II (Multimedia II) เป็นสื่อประสมที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเสนอสาร
      สนเทศหรือการผลิตเพื่อเสนอข้อมูลประเภทต่างๆ เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ตัวอักษรและเสียงใน
      ลักษณะของสื่อหลายมิติ โดยที่ผู้ใช้มีการโต้ตอบกับสื่อโดยตรง
 

สรุป
    สื่อประสม หมายถึง การนำสื่อหลาย ๆ ประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพ หุ่นจำลอง หนังสือ เป็นต้น โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
สื่อประสม I (Multimedia I) เป็นสื่อประสมที่ใช้โดยการนำเสนอสื่อหลายประเภทมาใช้
ร่วมกันในการเรียนการสอน เช่น นำวีดิทัศน์มาสอนประกอบการบรรยายของผู้สอนโดยมีสื่อสิ่งพิมพ์
ประกอบด้วย หรือการใช้ชุดการเรียนหรือชุดการสอน การใช้สื่อประสม I นี้ผู้เรียนและสื่อจะไม่มีปฏิสัม
พันธ์โต้ตอบกัน และจะมีลักษณะเป็น "สื่อหลายแบบ" ตามศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถาน
สื่อประสม II (Multimedia II) เป็นสื่อประสมที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเสนอสาร
สนเทศหรือการผลิตเพื่อเสนอข้อมูลประเภทต่างๆ เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ตัวอักษรและเสียงใน
ลักษณะของสื่อหลายมิติ โดยที่ผู้ใช้มีการโต้ตอบกับสื่อโดยตรง

อ้างอิง
     สื่อประสม หมายถึง[ออนไลน์].เว็บไซต์http://www.st.ac.th/av/inno_multimedia.htm .เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่27 สิงหาคม 2555.
   กิดานันท์ มลิทอง.(2544).นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์อรุณการพิมพ์
       สื่อประสม หมายถึง[ออนไลน์].เว็บไซต์http://www.ipesp.ac.th/learning/technology/html/shap5/bot5-2.html .เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่27 สิงหาคม 2555.

    สื่อการสอน

   http://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-13225.html ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า สื่อการสอนหมายถึง สิ่งซึ่งใช้เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติให้แก่ผู้เรียน หรือทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ มนุษย์รู้จักนำเอาสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มาให้เป็นสื่อการสอน ตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ. 1930 เป็นต้นมา ด้วยความเจริญก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน ทำให้สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ตลอดจนวิธีการแปลก ๆ ถูกนำมาใช้เป็นสื่อการสอนกันอย่างกว้างขวาง เช่น การใช้โทรทัศน์เพื่อการศึกษาทั้งในระบบวงจรปิด และในระบบทางไกล หรือการใช้ชุดการสอนเพื่อการเรียนรู้เป็นรายบุคคล เป็นต้น
  http://webcache.googleusercontent.com/searchq=cache:Oom4CCVeSrIJ:payu49.blogspot.com/+&cd=1&hl=th&ct=clnk&gl=thได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประเภทของสื่อการเรียนการสอนสื่อแบ่งตามคุณลักษณะได้ 4 ประเภทคือ
        1. สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่สไลด์ แผ่นใส เอกสาร ตำรา สารเคมี สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และคู่มือการฝึกปฏิบัติ
        2. สื่อประเภทอุปกรณ์ ได้แก่ของจริง หุ่นจำลอง เครื่องเล่นเทปเสียง เครื่องเล่นวีดีทัศน์ เครื่องฉายแผ่นใส อุปกรณ์และเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ
        3. สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ได้แก่การสาธิต การอภิปรายกลุ่ม การฝึกปฏิบัติการฝึกงาน การจัดนิทรรศการ และสถานการณ์จำลอง
       4. สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ ได้แก่คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer presentation) การใช้ Intranet และ Internet เพื่อการสื่อสาร (Electronic mail: E-mail) และการใช้ WWW (world wide web)
  http://webcache.googleusercontent.com/searchq=cache:HhM3jeNWfTkJ:coperspy.multiply.com/journal/item/21+&cd=6&hl=th&ct=clnk&gl=th ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า "สื่อการเรียนการสอน" (Instruction Media) หมายถึง สื่อชนิดใดก็ตามที่บรรจุเนื้อหา หรือสาระการเรียนรู้ซึ่งผู้สอนและผู้เรียนใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้เนื้อหา หรือ สาระนั้น ๆ การเรียนการสอนในภาพลักษณ์เดิม ๆ มักจะเป็นการถ่ายทอดสาระความรู้จากผู้สอนไปยังผู้เรียน โดยใช้สื่อ การเรียนการสอนเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ทักษะและประสบการณ์ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่าการเรียนรู้ไม่ได้จำกัด อยู่ เฉพาะในห้องเรียน หรือในโรงเรียน ผู้สอนและผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากสื่อต่าง ๆ อย่างหลากหลาย สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ สื่อที่นำมาใช้เพื่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงเรียกว่า "สื่อการเรียนรู้" ซึ่งหมายถึงทุกสิ่ง ทุกอย่างที่มีอยู่รอบตัวไม่ว่าจะเป็นวัสดุ ของจริง บุคคล สถานที่ เหตุการณ์ หรือความคิดก็ตาม ถือเป็น สื่อ การเรียนรู้ทั้งสิ้น ขึ้นอยู่กับว่าเราเรียนรู้จากสิ่งนั้น ๆ หรือนำสิ่งนั้น ๆ ข้ามาสู่การเรียนรู้ของเราหรือไม่
     สรุป
      "สื่อการเรียนการสอน" (Instruction Media) หมายถึง สื่อชนิดใดก็ตามที่บรรจุเนื้อหา หรือสาระการเรียนรู้ซึ่งผู้สอนและผู้เรียนใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้เนื้อหา หรือ สาระนั้น ๆ การเรียนการสอนในภาพลักษณ์เดิม ๆ มักจะเป็นการถ่ายทอดสาระความรู้จากผู้สอนไปยังผู้เรียน โดยใช้สื่อ การเรียนการสอนเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ทักษะและประสบการณ์ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่าการเรียนรู้ไม่ได้จำกัด อยู่ เฉพาะในห้องเรียน หรือในโรงเรียน ผู้สอนและผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากสื่อต่าง ๆ อย่างหลากหลาย
ประเภทของสื่อการเรียนการสอนสื่อแบ่งตามคุณลักษณะได้ 4 ประเภทคือ
1. สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่สไลด์ แผ่นใส เอกสาร ตำรา สารเคมี สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และคู่มือการฝึกปฏิบัติ
2. สื่อประเภทอุปกรณ์ ได้แก่ของจริง หุ่นจำลอง เครื่องเล่นเทปเสียง เครื่องเล่นวีดีทัศน์ เครื่องฉายแผ่นใส อุปกรณ์และเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ
3. สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ได้แก่การสาธิต การอภิปรายกลุ่ม การฝึกปฏิบัติการฝึกงาน การจัดนิทรรศการ และสถานการณ์จำลอง
4. สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ ได้แก่คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer presentation) การใช้ Intranet และ Internet เพื่อการสื่อสาร (Electronic mail: E-mail) และการใช้ WWW (world wide web)
     อ้างอิง
      สื่อการเรียนการสอน[ออนไลน์].เว็บไซต์ http://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-13225.html .เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่20 สิงหาคม 2555.
   สื่อการเรียนการสอน[ออนไลน์].เว็บไซต์http://webcache.googleusercontent.com/searchq=cache:Oom4CCVeSrIJ:payu49.blogspot.com/+&cd=1&hl=th&ct=clnk&gl=th.เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่20 สิงหาคม 2555.
      สื่อการเรียนการสอน[ออนไลน์].เว็บไซต์http://webcache.googleusercontent.com/searchq=cache:HhM3jeNWfTkJ:coperspy.multiply.com/journal/item/21+&cd=6&hl=th&ct=clnk&gl=th .เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่20 สิงหาคม 2555.

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีบทบาทในการศึกษา

       ฺhttp://thaigoodview.com/node/25772 ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการ
ศึกษา ดังนี้
     1. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วย
สนับสนุนการเรียนรู้ หลายด้าน มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ระบบสนับสนุนการรับรู้
ข่าวสาร เช่น การค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้ใน World Wide Web เป็นต้น  

     2. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา   โดยเฉพาะการจัดการ
ศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผน การดำเนินการ  การติดตาม
และประเมินผลซึ่งอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ
     3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการสื่อสารระหว่างบุคคล ในเกือบทุกวงการทั้งทางด้าน
การศึกษาจำเป็นต้องอาศัยสื่อสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคล  เช่น  การสื่อสารระหว่างผู้สอนกับ
ผู้เรียน โดยใช้องค์ประกอบที่สำคัญช่วยสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เช่น
การใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เทเลคอมเฟอเรนซ์ เป็นต้น
        ฺ http://bunmamint18.blogspot.com/   ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาประกอบด้วย
     1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีระบบมัลติมีเดีย (Multimedia) ระบบวิดีโออนนดีมานด์(Video on Demand)วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
     2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการการติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้
     3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เขียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น 
          ฺhttp://www.gotoknow.org/blogs/posts/211332 ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่ทคโนโลยีสารสนเทศมีได้เข้ามามีบทบาทอย่างกว้างขวางในทุกวงการ นับตั้งแต่ทางด้านธุรกิจ อุตสาหกรรม การวิจัยค้นคว้า ไปจนถึงเรื่องของการเมืองการศึกษา ในด้านการศึกษานั้นได้มีผู้นำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนมาเป็นเวลานานแล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคอมพิวเตอร์มีบทบาทหลายประการ ทั้งนี้มีได้ความพยายามคิดหาวิธีที่จะสร้างศักยภาพด้านต่างๆ ให้กับคอมพิวเตอร์ โดยนักวิจัยบางคนเน้นในด้านการทำให้คอมพิวเตอร์คิดหาเหตุผลเองได้ และแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนได้เอง นักวิจัยบางกลุ่มก็เน้นในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ทางการสอน โดยการนำบทเรียนมาบรรจุไว้ในคอมพิวเตอร์ แล้วนำบทเรียนนั้นมาแสดงแก่ผู้เรียน ซึ่งเป็นการพัฒนาการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย และในที่นี้ได้แบ่งเป็นประเด็นไว้ 6 ประเด็น คือ
           1. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน  มีหลายรูปแบบเช่น Drill and Practice, Linear Program , Branching Program, Simulation, Game, Multimedia, Intelligence CAI
2. การศึกษาทางไกล  ซึ่งจัดได้หลายรูปแบบ เช่น การใช้วิทยุ โทรทัศน์ การสื่อสารโดยใช้ระบบแพร่ภาพผ่านดาวเทียม (Direct to Home : DTH) หรือระบบการแระชุมทางไกล (Video Teleconference)
3. เครือข่ายการศึกษา ซึ่งเป็นการนำเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาใช้ ซึ่งมีบริการในหลายรูปแบบ เช่นElectronic Mail , File Transfer Protocol, Telnet , World Wide Web เป็นต้น เครื่องข่ายคอมพิวเตอร์จะสามารถให้ผู้เรียนได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่มีจำนวนมากมายที่เชือมโยงในเครื่อข่ายทั่วโลก
4. การใช้งานในห้องสมุด  เป็นการประยุกต์ใช้ในการสืบค้นข้อมูลหนังสือ วารสาร หรือบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ ผลงานการวิจัย
5. การใช้งานในห้องปฏิบัติการ ซึ่งเป็นเรื่องใหม่และที่น่าสนใจมาก เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการจำลองสถานการณ์ (Simulation)
6. การใช้ในงานประจำและงานบริหาร  เป็นการปะยุกต์ใช้ในสำนักงานเพื่อช่วยในการบริหาร จัดการ ทำให้เกิดความคล่องตัว รวดเร็วและแม่นยำ การตัดสินใจในการดำเนินการต่างๆ ย่อมเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
สรุป     
เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศมีคุณสมบัติเฉพาะตัวหลายประการ ดังนั้นนโยบายการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการศึกษาจึงต้อง คำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่สำคัญต่อการวางแผนที่ดี อาทิเช่น การจัดการกับปัญหาคอมพิวเตอร์ที่เปลี่ยนแปลงทุกปี การจัดลำดับความเร่งด่วนและความสำคัญ (priority) ของการฝึกอบรม และการลงทุนในอุปกรณ์ ความคุ้มทุน การพัฒนาซอฟต์แวร์เฉพาะด้าน เป็นต้
สรุป
 เทคโนโลยีสารสนเทศมีได้เข้ามามีบทบาทอย่างกว้างขวางในทุกวงการ นับตั้งแต่ทางด้านธุรกิจ อุตสาหกรรม การวิจัยค้นคว้า ไปจนถึงเรื่องของการเมืองการศึกษา ในด้านการศึกษานั้นได้มีผู้นำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนมาเป็นเวลานานแล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคอมพิวเตอร์มีบทบาทหลายประการ ทั้งนี้มีได้ความพยายามคิดหาวิธีที่จะสร้างศักยภาพด้านต่างๆ ให้กับคอมพิวเตอร์  ซึ่งเป็นการพัฒนาการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย  ดังนี้
     1. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วย
สนับสนุนการเรียนรู้ หลายด้าน มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ระบบสนับสนุนการรับรู้
ข่าวสาร เช่น การค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้ใน World Wide Web เป็นต้น  
     2. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา   โดยเฉพาะการจัดการ
ศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผน การดำเนินการ  การติดตาม
และประเมินผลซึ่งอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ
     3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการสื่อสารระหว่างบุคคล ในเกือบทุกวงการทั้งทางด้าน
การศึกษาจำเป็นต้องอาศัยสื่อสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคล  เช่น  การสื่อสารระหว่างผู้สอนกับ
ผู้เรียน โดยใช้องค์ประกอบที่สำคัญช่วยสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เช่น
การใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เทเลคอมเฟอเรนซ์ เป็นต้น

อ้างอิง
     เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษา[ออนไลน์].เว็บไซต์ http://thaigoodview.com/node/25772.เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่13 สิงหาคม 2555. 
     บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา[ออนไลน์].เว็บไซต์  http://bunmamint18.blogspot.com/ .เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่13 สิงหาคม 2555.  
     บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ[ออนไลน์].เว็บไซต์  http://www.gotoknow.org/blogs/posts/211332 .เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่13 สิงหาคม 2555.