วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

3.ทฤษฎีการเรียนรู้และการเรียนร่วมสมัย

  3.1 ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล(Information Processing Theory)

           ฺ http://mystoryinsite.blogspot.com/2012/06/information-processing-theory.html ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
ก.       ทฤษฎีการเรียนรู้

คลอสเมียร์  ได้อธิบายการเรียนรู้ของมนุษย์โดยเปรียบเทียบกับการทำงานของคอมพิวเตอร์  ดังนี้
1.การรับข้อมูล
2.การเข้ารหัส
3.การส่งข้อมูลออก
คลอสไมเออร์  อธิบายกระบวนการประมวลข้อมูลโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง  5  การบันทึกไว้ในความจำระยะสั้น  ซึ่งการบันทึกนี้จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ  2  ประการ คือ  การรู้จักและความใส่ใจของบุคคลที่รับสิ่งเร้า   เมื่อข้อมูลข้าวสารได้รับการบันทึกไว้ในความจำระยะยาวแล้ว  การเรียกออกมาใช้บุคคลจำเป็นต้องถอดรหัสข้อมูลจากความจำระยะยาวนั้น
กระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูลข้างต้น  จะได้รับการบริหารควบคุมอีกชั้นหนึ่ง  ซึ่งหากเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์แล้ว  ก็คือโปรแกรมสั่งงานหรือ  “software”นั่นเอง

      ข. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการเรียนการสอน
1.เนื่องจากการรู้จัก  (recognition) หากเรารู้จักสิ่งนั้นมาก่อน  เราก็มักจะเลือกรับรู้สิ่งนั้น และนำไปเก็บไว้ในความจำต่อไป
2.เนื่องจากความใส่ใจ (attention) ควรจัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน  เพราะจะช่วยให้ผู้เรียนใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้นและนำไปเก็บไว้ในความจำระยะสั้นต่อไป
3.เนื่องจากข้อมูลที่ผ่านการรับรู้แล้ว  จะถูกนำไปเก็บไว้ในความจำระยะสั้น  หากต้องการจำสิ่งนั้นนานกว่านี้  ก็จำเป็นต้องใช้วิธีการต่างๆช่วย  เช่น  การท่องซ้ำกันหลายๆครั้ง
4.หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆได้เป็นเวลานานสาระนั้นต้องได้รับการเข้ารหัส  วิธีการเข้ารหัส  เช่น  การท่องจำซ้ำๆการทบทวน
5.ข้อมูลที่ถูกนำเก็บไว้ในความจำระยะสั้นหรือระยะยาวแล้ว  สามารถเรียกออกมาใช้งานได้โดยผ่าน “effector”ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นพฤติกรรมทางวาจาหรือการกระทำ
6.เนื่องจากกระบวนการต่างๆ  ของสมองได้รับการควบคุมโดยหน่วยบริหารควบคุมอีกชั้นหนึ่งซึ่งเปรียบได้กับโปรแกรมสั่งงานซึ่งเป็น “software”ของเครื่องคอมพิวเตอร์  การที่ผู้เรียนรู้ตัวและรู้จักการบริหารควบคุมกระบวนการทางปัญญาทำให้บุคคลนั้นสามารถสั่งงานให้สมองทำการต่างๆได้
              ฺ Garofalo and Lester (1985:163-176) กล่าวไว้ว่า การตระหนักรู้จะนำไปสู่การคิดหากลวิธีต่างๆที่จะมาช่วยให้ตนจดจำในสิ่งที่เรียนได้ดี เช่น การท่องจำ การจดบันทึก และการใช้เทคนิคคช่วยจำอื่นๆ เช่นการจำตัวย่อ การทำรหัส การเชื่อมโยงในสิ่งที่สัมพันธ์กัน ความรู้ในเชิงเมตาคอคนิชันมักจะประกอบไปด้วยความรู้เกี่ยวกับบุคคล งาน และกลวิธี
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486) กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล(Information Processing Theory) เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ ได้เป็นเวลานาน สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส(encoding) เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การท่องจำซ้ำๆ การทบทวน หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด
เทอดชัย บัวผาย (http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7) กล่าวไว้ว่า เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ ได้เป็นเวลานาน สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส (encoding) เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การท่องจำซ้ำๆ การทบทวน หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด                                                                                                                                                                                                    
สรุป
ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง คือทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่าการทำงานของสมองของมนุษย์ก็เปรียบเสมือนคอมพิวเตอร์ เป็นการนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาสนใจและรับรู้สิ่งนั้น เมื่อมนุษย์ได้รับข้อมูลจากสิ่งเร้าเข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสมองก็จะประมวลผลของข้อมูลแล้วแสดงออกมาทางพฤติกรรม เช่น การท่องจำ คำพูด การจดบันทึก เป็นต้น
อ้างอิง  
 http://mystoryinsite.blogspot.com/2012/06/information-processing-theory.html.[ออนไลน์]. ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล.เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2555.
  ศน.หลักสูตรและการสอน[ออนไลน์].เว็บไซต์http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7.ทฤษฎีการเรียนรู้.เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2555.
 ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ[ออนไลน์].เว็บไซต์http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486.ทฤษฎีการเรียนรู้. เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2555.                                                                                                                                                                        

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น