วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

2.3 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism)

    ฺ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/380923 กล่าวไว้ว่า -มนุษย์ทุกนามนั้นมีจิตใจ ต้องการความรัก ความอบอุ่น ความเข้าใจ ทั้งยังมีขีดความสามารถเฉพาะตัว ไม่ใช่จะกำหนดให้เป็นอะไรก็ได้ตามใจชอบของคนอื่น ซึ่งตรงข้ามกับแนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมที่เห็นว่าเราสามารถกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ด้วยกันได้
-มนุษย์แต่ละคน ทุกชาติ ภาษา เป็นผู้ซึ่งพยายามที่จะรู้จัก เข้าใจตนเองและต้องการบรรลุศักยภาพสูงสุดของตน(self actualizations)จึงไม่ยากนักที่จะเสริมสร้างให้บุคคลคิดวิเคราะห์ เข้าใจตน และนำจุดดีมาใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาเอง
-ส่วนข้อบังคับและระเบียบวินัยนั้น ไม่สู้จะจำเป็นนักสำหรับผู้พัฒนาแล้ว ทุกคนต่างมุ่งสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ให้แก่ตนถ้าเขาได้รับการยอมรับ ดังนั้น จุดเริ่มต้นของการพัฒนาตนจึงอยู่ที่การยอมรับตนเองและผู้อื่นให้ได้ก่อน
-ผู้ที่พร้อมต่อการปรับปรุงตนเอง ควรจะได้มีสิทธิเลือกการกระทำเลือกประสบการณ์ กำหนดความต้องการ และตัดสินใจเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยตนเอง (self mastery)เป็นการออกแบบชีวิต ที่เหมาะสมตามทิศทางของเขา
-ขั้นตอนแสวงหาความรู้หรือข้อเท็จจริงต่งหาก สำคัญกว่าตัวความรู้หรือตัวข้อเท็จจริง เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตัวของความรู้หรือตัวข้อเท็จจริงจะไม่ใช่สิ่งตายตัวดังนั้นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่ออนาคตของบุคคลมากที่สุดก็คือกรรมวิธีในการเสาะแสวงหาความรู้ไม่ใช่เน้นที่ตัวความรู้เพียงอย่างเดียว
แนวคิดจากกลุ่มมนุษย์นิยมที่อาจนำไปใช้เพื่อการพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์ ได้แก่ การเน้นให้บุคคลได้มีเสรีภาพ เลือกวิถีชีวิตตามความต้องการและความสนใจ ให้เสรีภาพในการคิด ให้บุคคลตนแง่บวก ยอมรับตนเอง และนำส่วนดีในตนเองมาใช้ประโยชน์ให้เต็มที่ รักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของตนเอง สร้างสรรค์สิ่งดีให้ตนเอง ซึ่งเป็นฐานทางใจให้มองบวกกับคนอื่นยอมรับคนอื่นและสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้แก่ผู้อื่นและสังคมเสมอ.

ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมแบ่งพฤติกรรมมนุษย์ออกเป็น2 กลุ่ม 1. Respondent Behaviorหมายถึงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้า เมื่อมีสิ่งเร้าตอบสนองก็จะเกิดขึ้น ซึ่งสามารถสังเกตได้ อธิบายได้โดย ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning Theory)
2. Operant Behaviorเป็นพฤติกรรมที่บุคคลหรือสัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา (Emitted)โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน และพฤติกรรมนี้มีผลต่อสิ่งแวดล้อม อธิบายได้โดยทฤษฎี Operant Conditioning Theory
     ฺ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/277594 ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า ผู้นำสำคัญในกลุ่มมนุษย์นิยม ได้แก่ คาร์ล โรเจอร์ (Calr R. Rogers, 1902-1987) และ แมสโลว์(Abraham H. Maslow, 1908-1970) กลุ่มนี้จัดว่าเป็นแนวคิดสมัยใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับสังคมประชาธิปไตย หรือ สังคมเปิด
และได้ชื่อว่า พลังคลื่นที่สาม (the third wave)
ความเชื่อของกลุ่มจิตวิทยามนุษย์นิยมมีสังเขป ดังนี้
      ฺ    http://courseware.rmutl.ac.th/courses/43/unit913.htm ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า นักจิตวิทยากลุ่มนี้ เช่น คาร์ล โรเจอร์ กล่าวว่า มนุษย์มีศักยภาพตามธรรมชาติที่จะเรียนรู้ และการเรียนรู้จะได้ผลดีหากการเรียนรู้นั้นมีความหมาย หรือเป็นสิ่งที่ผู้เรียนสนใจอยากรู้อย่างแท้จริง ส่วน มาสโลว์ (Maslow) เน้นเรื่องการเรียนรู้เป็นการพัฒนาตนเองไปสู่ความเจริญสูงสุดของ ตน ( Self Actualization ) โดยเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเป็นดีโดยกำเนิด ทุกคนต้องการกระทำดี ต้องการพัฒนาศักยภาพของตนไปจนเจริญสูงสุด
สรุปแล้ว นักจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยมเน้นว่า การเรียนรู้จะได้ผลดีหากผู้เรียนมีความเป็นอิสระ ปราศจากสิ่งรบกวน ข่มขู่หรือขัดขวาง
สรุป
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม(Humanism) นักคิดกลุ่มมนุษยนิยมให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า มีความดีงาม มีความสามารถ มีความต้องการ และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน หากบุคคลมีอิสระภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
อ้างอิง
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม.[ออนไลน์]ชื่อเว็บไซต์: http://www.gotoknow.org/blogs/posts/380923. เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2555.

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม.[ออนไลน์]ชื่อเว็บไซต์: http://dit.dru.ac.th/home/023/human/08.htm. เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2555.
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม.[ออนไลน์]ชื่อเว็บไซต์: http://courseware.rmutl.ac.th/courses/43/unit913.htm .เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2555.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น