วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

2.2 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism)

      ฺ http://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Learning_Cognitive.htm  กล่าวไว้ว่า
ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มพุทธินิยมนี้ให้ความสำคัญกับความสามารถในการตั้งวัตถุประสงค์
การวางแผน ความตั้งใจ ความคิด ความจำ การคัดเลือก การให้ความหมายกับสิ่งเร้าต่างๆ ที่ได้จากประสบการณ์ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มพฤติกรรมนิยมแล้วเห็นว่ามีความแตกต่างกันดังนี้
กลุ่มพฤติกรรมนิยม : อินทรีย์สร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองอันก่อให้เกิดความพึงพอใจ
        ฺ
http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=3370.0 กล่าวไว้ว่า กลุ่มพุทธินิยม หรือกลุ่มความรู้ความเข้าใจ หรือกลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด นักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย และความสัมพันธ์ของข้อมูล และการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่าง ๆ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเองทฤษฎีในกลุ่มนี้ทีสำคัญ ๆ มี 5 ทฤษฎี คือ            1. ทฤษฎีเกสตอลท์(Gestalt’s Theory)            2. ทฤษฎีสนาม (Field Theory)            3. ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory)           4. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Intellectual Development Theory)           5. ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (A Theory of Meaningful Verbal Learning)


       ฺ   http://www.oknation.net ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย และความสัมพันธ์ของข้อมูล และการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่าง ๆ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง


สรุป
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม( Cognitivism) เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น   แต่เชื่อว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมายและความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้

อ้างอิง
     ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิย[ออนไลน์].ชื่อเว็บไซต์   http://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Learning_Cognitive.htm. เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2555.



     ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิย[ออนไลน์]ชื่อเว็บไซต์ :http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=3370.0 .เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2555.
     ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิย.[ออนไลน์]ชื่อเว็บไซต์ : http://www.oknation.net .เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2555.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น