วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

2.ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่
20
   2.1 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behaviorism)
   ฺhttp://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Behavioral_Learning_Theories.htm กล่าวไว้ว่า เน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulas) และ การตอบสนอง (Response) โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและ การตอบสนองอันนำไปสู่ ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือการเรียนรู้นั่นเอง ผู้นำที่สำคัญของ กลุ่มนี้ คือ พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) ธอร์นไดร์ (Edward Thorndike) และสกินเนอร์ (B.F.Skinner)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning)
ผู้ที่ทำการศึกษาทดลองในเรื่องนี้ คือ พาฟลอฟ ซึ่งเป็นนักสรีระวิทยาชาวรัสเซีย เขาได้ทำการศึกษาทดลองกับสุนัขให้ ยืนนิ่งอยู่ในที่ตรึงใน ห้องทดลอง ที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลาย การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ก่อนการวางเงื่อนไข (Before Conditioning) ระหว่างการวางเงื่อนไข (During Conditioning) และ หลังการวางเงื่อนไข (After Conditioning) อาจกล่าวได้ว่า การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค คือ การตอบสนอง ที่เป็นโดยอัตโนมัติเมื่อนำ สิ่งเร้าใหม่มาควบคุมกับสิ่งเร้าเดิม เรียกว่า พฤติกรรมเรสปอนเด้นท์ (Respondent Behavior) พฤติกรรมการเรียนรู้นี้เกิดขึ้นได้ทั้งกับมนุษย์และสัตว์     ฺ
         ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปริญญา เฉิดโฉม (http://www.novabizz.com) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฏีนี้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมเน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulas) และ การตอบสนอง (Response) โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและ การตอบสนองอันนำไปสู่ ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือการเรียนรู้นั่นเอง ผู้นำที่สำคัญของ กลุ่มนี้ คือ พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) ธอร์นไดร์ (Edward Thorndike) และสกินเนอร์ (B.F.Skinner) เช่น




ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning) ผู้ที่ทำการศึกษาทดลองในเรื่องนี้ คือ พาฟลอฟ ซึ่งเป็นนักสรีระวิทยาชาวรัสเซีย เขาได้ทำการศึกษาทดลองกับสุนัขให้ ยืนนิ่งอยู่ในที่ตรึงใน ห้องทดลอง ที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลาย การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ก่อนการวางเงื่อนไข (Before Conditioning) ระหว่างการวางเงื่อนไข (During Conditioning) และ หลังการวางเงื่อนไข (After Conditioning)
        ฺ ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง คือ ไม่ดี ไม่เลว การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า(stimulus response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ พฤติกรรม มากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดและทดสอบได้
สรุป
               นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง คือ ไม่ดีไม่เลว การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า(stimulus response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง 
อ้างอิง
http://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Behavioral_Learning_Theories.htm. [ออนไลน์]. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม.เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2555.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปริญญา เฉิดโฉม. [ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์: http://www.novabizz.com. เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม  2555.
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ.[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์: http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486an/386486/natchak.[ออนไลน์]. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม. เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2555.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น