วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

11.รูปแบบการวิจัย(Research Design)

       http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า รูปแบบการวิจัย เปรียบเสมือนโครงสร้างของบ้าน จะมีลักษณะอย่างไร ขึ้นกับคำถาม และวัตถุประสงค์ของการวิจัย ส่วนระเบียบวิธีวิจัย (research methodology) เปรียบเสมือนการตกแต่งภายใน ซึ่งจำเป็นต้องสอดคล้องกับโครงสร้างของบ้าน (design) ดังนั้น ในการเขียนโครงร่างการวิจัย จึงจำเป็นต้อง กำหนดรูปแบบการวิจัยที่เหมาะสม   การจำแนกรูปแบบการวิจัย ตามวิธีการดำเนินการวิจัย สามารถแบ่งการวิจัยได้เป็น 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ การวิจัยโดยการสังเกต (observational research) และการวิจัยเชิงทดลอง(experimental research) ขึ้นอยู่กับว่า ตัวแปรอิสระ ซึ่งอาจได้แก่ ปัจจัยเสี่ยง (risk factor หรือ exposure) หรือสิ่งที่เราต้องการประเมิน หรือทดสอบ (เช่น ยา วิธีการรักษา โครงการต่าง ๆ) ซึ่งเรียกว่า "สิ่งแทรกแซง" (intervention) นั้น ผู้วิจัยเป็นผู้กำหนด (assign) ให้กับตัวอย่างที่นำมาศึกษา หรือตัวอย่างที่นำมาศึกษานั้น ได้รับปัจจัยเสี่ยงนั้นอยู่แล้ว ในชีวิตประจำวัน หรือได้รับอยู่แล้ว ตามธรรมชาติ (ที่เรียกว่า natural exposure) โดยที่ผู้วิจัย ไม่ได้เข้าไปควบคุม หรือแทรกแซงแต่อย่างใด
การวิจัยใดก็ตาม ที่ผู้วิจัยมีการ กำหนดปัจจัยเสี่ยง หรือกำหนดสิ่งแทรกแซง ให้กับตัวอย่างที่นำมาศึกษา แล้วติดตามดูผล ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต การวิจัยชนิดนี้ เรียกว่า การวิจัยเชิงทดลอง(ดูภาพที่ 6)
ภาพที่ 6 จำแนกรูปแบบของการวิจัยตามวิธีดำเนินการวิจัย

       http://btananuwat.tripod.com ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า รูปแบบของการวิจัยสามารถแยกออกได้เป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆ ได้ 2 รูปแบบคือรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ และรูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งรูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ สามารถจําแนกการวิจัยออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือการวิจัยเชิงพรรณนา และการวิจัยเชิงทดลอง
   1.การวิจัยเชิงพรรณนา  (Descriptive research) จะมีรูปแบบของการวิจัยที่ไม่มีแบบแผนตายตัวทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบของการวิจัยนั้นๆ โดยการวิจัยประเภทนี้จะเป็นการค้นคว้าหาความจริงของสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพื่อขจัดความไม่รู้ให้หมดไป ในการตอบปัญหานั้นการวิจัยประเภทนี้จะไมตอบปัญหาว่าทำไม แต่จะตอบปัญหาว่าอย่างไร โดยไม่มีการควบคุมตัวแปรหรือสิ่งที่เกี่ยวข้องแต่อย่างไร
    2.การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) เป็นการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อทดสอบความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างตัวแปรลักษณะของการวิจัยเชิงทดลอง จะมีองค์ประกอบไปด้วย 3 ประการคือ มีการจัดกระทํา (Manipulation)  มีการควบคุม (Control)  มีการสังเกตและวัดผลที่เกิดขึ้น(Observation)
ศ.บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์(2533:16) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า รูปแบบการวิจัย(Research Design)เป็นการสำรวจให้ทราบว่าประเด็นปัญหาในทำนองที่สนใจนั้น มีใครทำวิจัยโดยใช้รูปแบบการวิจัยอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับตัวแปรที่ศึกษามีอะไรบ้าง มีการควบคุมตัวแปรภายนอกอย่างไร มีอะไรบ้างเป็นประชากร สุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการอย่างไร เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร ใช้สถิติอะไรบ้าง
สรุป

    รูปแบบการวิจัย(Research Design)เป็นการสำรวจให้ทราบว่าประเด็นปัญหาในทำนองที่สนใจนั้น มีใครทำวิจัยโดยใช้รูปแบบการวิจัยอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับตัวแปรที่ศึกษามีอะไรบ้าง มีการควบคุมตัวแปรภายนอกอย่างไร มีอะไรบ้างเป็นประชากร สุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการอย่างไร เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร ใช้สถิติอะไรบ้าง ซึ่งรูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ สามารถจําแนกการวิจัยออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือการวิจัยเชิงพรรณนา และการวิจัยเชิงทดลอง
    1.การวิจัยเชิงพรรณนา  (Descriptive research) จะมีรูปแบบของการวิจัยที่ไม่มีแบบแผนตายตัวทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบของการวิจัยนั้นๆ โดยการวิจัยประเภทนี้จะเป็นการค้นคว้าหาความจริงของสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพื่อขจัดความไม่รู้ให้หมดไป ในการตอบปัญหานั้นการวิจัยประเภทนี้จะไมตอบปัญหาว่าทำไม แต่จะตอบปัญหาว่าอย่างไร โดยไม่มีการควบคุมตัวแปรหรือสิ่งที่เกี่ยวข้องแต่อย่างไร
   2.การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) เป็นการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อทดสอบความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างตัวแปรลักษณะของการวิจัยเชิงทดลอง จะมีองค์ประกอบไปด้วย 3 ประการคือ มีการจัดกระทํา (Manipulation)  มีการควบคุม (Control)  มีการสังเกตและวัดผลที่เกิดขึ้น(Observation)
อ้างอิง
  เว็บไซต์:http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm.[ออนไลน์].เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2555.
  เว็บไซต์:http://btananuwat.tripod.com.[ออนไลน์].เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2555.
  บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์.2533.การวิจัย การวัดและประเมินผล.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ศรีอนันต์.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น